ทวารวดี

นครปฐม : เมืองลุ่มน้ำแห่งศรีทวารวดี
(Nakhon Pathom: The Riverine City of Serene Tolopoti)

นครปฐม

เมืองลุ่มน้ำ ศูนย์กลางทางพุทธศาสนา
และวัฒนธรรมทวารวดี

"Riverine area การเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนา รวมไปถึงการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมทวารวดี จากการศึกษาพบโบราณวัตถุที่แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับภายนอกที่สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพของเมือง ซึ่งสันนิษฐานได้ว่านครปฐมโบราณตั้งอยู่ติดกับแนวชายฝั่งทะเลเดิม นับเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีการบริหารจัดการระบบคูคลองที่มีประสิทธิภาพ เอื้อประโยชน์ต่อการติดต่อทางการค้า ทั้งนี้การเป็นเมืองท่าการค้าส่งผลให้เกิดการรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา อาทิ คติความเชื่อทางศาสนา พบว่าพุทธศาสนาเป็นวัฒนธรรมจากภายนอกที่เข้ามามีบทบาทต่อสังคมเมืองนครปฐมโบราณ"
ที่มาคำว่า “ทวารวดี” มาจากชื่อในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง จากบันทึกการเดินทางของภิกษุเหี้ยนจัง (Hien Tsiang) และภิกษุอี้จิง (I-Tsing) ซึ่งได้เดินทางจากจีนไปอินเดีย ได้กล่าวถึงแคว้นโตโลโปตี้ (To Lo Po Ti) หมายถึงทวารวดี ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 17 เมืองนครปฐมโบราณมีความสำคัญน้อยลงแต่ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะศาสนสถาน
โดยในสมัยสุโขทัยมีการกล่าวถึง “นครพระกฤษณ์” หมายถึงเมืองนครปฐมโบราณในจารึกวัดศรีชุม ของพระศรีศรัทธาราชจุฬามุนีฯ ที่มีการบูรณะพระมหาเจดีย์กลางเมือง เรียกว่า “พระธม” ในสมัยอยุธยาได้ปรากฎข้อความที่กล่าวถึงนครปฐม ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดให้ตั้ง เมืองนครชัยศรี เมื่อ พ.ศ. 2091 มีฐานะทั้งด้านการป้องกันข้าศึกและด้านการค้าขายในสมัยธนบุรีเมืองนครปฐมมีบทบาทในด้านการสงคราม เนื่องจากตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพของพม่า

รัชกาลที่ 3 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

นครชัยศรีเป็นแหล่งปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย มีการขนส่งน้ำตาลทรายเข้าไปยังกรุงเทพฯ ผ่านเส้นทางลำคลอง

รัชกาลที่ 5 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2466 มีการสร้างทางรถไฟสายเพชรบุรี โดยเริ่มเดินรถตัดผ่านพื้นที่มณฑลนครชัยศรีส่งผลให้บริเวณรอบองค์พระปฐมเจดีย์มีความเจริญมากขึ้น
พ.ศ. 2401 โปรดให้ขุดคลองเจดีย์บูชาขึ้น มีระยะทางจากแม่น้ำนครชัยศรีไปจนถึงองค์พระปฐมเจดีย์

รัชกาลที่ 4 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2396 มีการก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ขึ้นโดยเป็นการสร้างครอบเจดีย์องค์เดิม
พ.ศ. 2401 โปรดให้ขุดคลองเจดีย์บูชาขึ้น มีระยะทางจากแม่น้ำนครชัยศรีไปจนถึงองค์พระปฐมเจดีย์

รัชกาลที่ 6 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2453 โปรดให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น ทรงเสด็จประกอบพระราชกรณียกิจ อาทิ การเล่นละครโขน ทรงบทพระราชนิพนธ์ ตลอดจนเป็นที่ซ้อมรบเสือป่าในช่วงเวลานี้ เมืองมีความคึกคักเป็นอย่างมาก ต่อมามีการเรียกชื่อ “เมืองนครชัยศรี” เป็น “เมืองนครปฐม” และเป็นจังหวัดนครปฐมจวบจนปัจจุบัน

พระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์

อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

สถานที่พบ : ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
อายุสมัย : กว่า 1,000 ปี

ความเป็นมาและความสำคัญ

พระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครปฐมราว 2 กิโลเมตรพระปฐมเจดีย์องค์แรกนั้นนักโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยที่นครปฐมยังเป็นเมืองศรีวิชัยของอาณาจักรทวารวดีและมีการสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาพระปฐมเจดีย์องค์แรกนี้ สร้างเป็นทรงบาตรคว่ำ ลักษณะคล้ายสถูปสาญจีในอินเดีย สูง 18 วา 2 ศอก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงมีพระราชศรัทธาให้ ปฏิสังขณ์องค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งถูกทิ้งร้างอยู่ในป่าและให้ปรับปรุงพื้นที่โดยรอบเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ในขณะนั้นยังคงเลื่อมใสไปนมัสการอยู่เสมอโดยเรียกพระเจดีย์นี้ว่า "พระประธมเจดีย์" พระเจ้าฟ้ามงกุฎขณะทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ ทรงมีพระดำริว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุในสมัยรัตนโกสินทร์ถูกทิ้งร้างอยู่ในป่ารกโดยบูรณะครอบพระเจดีย์องค์เดิมไว้ภายใน
ลักษณะของพระปฐมเจดีย์องค์เดิมจะเห็นได้จากเจดีย์จำลองบนระเบียงด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์คือเป็นเจดีย์ทรงกลมมีทางเดินขึ้นสู่ลานรอบองค์เจดีย์คล้ายกับสถูปสาญจีในประเทศอินเดียส่วนยอดปรางค์นั้นคงสร้างต่อเติมขึ้นภายหลัง ทั้้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจีแต่ปรากฎว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ซึ่งพระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่าอาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา
แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฎว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุมในสมัยสุโขทัยของพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุณี ศรีรัตนลงกาทีปมหาสามี กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด
เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระปฐมเจดีย์”
เจดีย์จำลองพระปฐมเจดีย์องค์เก่า
ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบัน
อันได้กล่าวไว้ว่าพระมหาเถรศรีศรัทธาฯท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราดเมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชานามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์
ในเรื่องนี้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านได้ระบุว่าพระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็นพระมหาธาตุหลวงในยุคทวารวดีมากกว่าข้าพเจ้าคิดจะให้คนทั้งหลายรู้ความโบราณ จึงได้สืบแสวงหาหนังสือเก่า ๆ ได้ความที่พระยาราชสัมภารากรฉบับหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องตาปะขาวรอตจดหมายไว้ ได้ที่พระวิเชียรปรีชาฉบับหนึ่ง

พระวิหารหลวง

คือพระวิหารด้านทิศตะวันออกขององค์พระปฐมเจดีย์ถือเป็นพระวิหารสำคัญสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับการปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญไว้ อาทิมุขด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระวิหารด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิบัลลังก์ที่ผนังด้านหลังพระพุทธรูปเป็นภาพเขียนสีน้ำมันรูปพระศรีมหาโพธิ
ส่วนพระวิหารด้านในบนผนังมีภาพเขียนสีน้ำมันรูปพระเจดีย์องค์ปัจจุบันพร้อมทั้งแสดงให้เห็นพระเจดีย์องค์เติมตั้งอยู่ภายใน ในห้องมีพระแท่นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่

พระวิหารทิศเหนือ

ผู้ที่มานมัสการพระปฐมเจดีย์จะต้องเดินขึ้นบันไดสูงสู่พระวิหารทิศเหนือ พระวิหารโถงด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ปางห้ามญาติห้อยพระหัตถ์ซ้ายยกพระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอ พระอุระมีความสูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ถวายพระนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราช ปูชนียบพิตร
พระร่วงโรจนฤทธิ์

พระวิหารด้านทิศตะวันตก

พระวิหารด้านทิศตะวันตก เป็นพระวิหารที่สร้างขึ้นพร้อมกับพระวิหารวิหารทั้ง 4 ทิศขององค์พระปฐมเจดีย์ ภายในจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนด้านนอกหรือด้านหน้าที่หันไปทางทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ส่วนด้านในหรือด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูปปางพระนิพพาน
พระพุทธไสยาสน์

พระวิหารทิศตะวันออก

วิหารนี้เรียกกันว่าพระวิหารหลวง ห้องนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่งๆ มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์ แสดงให้เห็นลักษณะขององค์พระเจดีย์ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ผนังห้องทั้ง 2 ด้านเป็นภาพวาดรูปเทวดา นักพรต ฤๅษี และพญาครุฑ ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการบูชาพระปฐมเจดีย์ ที่ชานมุขหน้าพระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธมหาวชิระมารวิชัย

พระวิหารด้านทิศใต้

วิหารนี้เรียกกันว่าวิหารพระปัญจวัคคีย์เนื่องจากห้องนอกมีรูปปั้นพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ นั่งอยู่รอบองค์พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ห้องด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิหงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนบนพระเพลาอย่างท่าปางสมาธิ มีรูปพญานาค 7 เศียร แผ่พังพานอยู่เบื้องหลังขดเป็นพุทธบัลลังก์

ตำนานพระปฐมเจดีย์

และพระยากง – พระยาพาน

รูปปั้นพญากง
พระธมเจดีย์หรือพระปฐมเจดีย์ เป็นพระสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะตั้งอยู่ในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นนพระอามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ภายในเจดีย์จะเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปฐมเจดีย์นั้นได้ถูกสร้างและปฏิสังขรณ์มาอย่างน้อย 3 ครั้งแล้ว และไม่มีใครทราบว่า พระปฐมเจดีย์ถูกสร้างในยุคสมัยใด ข้อความในตำนานพระปฐมเจดีย์กล่าวว่า “เดิมเมื่อแรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น พระพุทธศักราชล่วงได้พระวัสสาหนึ่งจะเป็นผู้ใดสร้างหาแจ้งไม่” (กรมศิลปากร 2528: 23) และ “เดิมเมื่อแรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น จุลศักราชยังไม่มี ตั้งแต่ พระพุทธศักราชศาสนาพระพุทธิเจ้าได้ปีหนึ่งนั้นมา...”
ความเก่าแก่ของพระปฐมเจดีย์อาจมีมาก่อนพระประโทณเจดีย์ เพราะน่าสังเกตว่าในเอกสารฉบับเดียวกันนั้นได้กล่าวถึงพระประโทณเจดีย์ที่สร้าง โดยพระยากาวัณดิศราช เมื่อ พ.ศ. 1199 ด้วย แต่เรื่องปีที่สร้างพระปฐมเจดีย์ก็เชื่อถือได้ยาก เพราะยังไม่มีเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีอื่นใดมารองรับ ต่างจากมูลเหตุของการสร้างพระปฐมเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระยากง - พระยาพาน อันเป็นเรื่องราวที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
ตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับตาปะขาวรอต กล่าวว่า มีกษัตริย์ชื่อท้าวสิการาช ครองราชย์สมบัติอยู่ที่ “เมืองศรีวิไชย” ซึ่งเชื่อว่าคือเมือง นครไชยศรี มีพระโอรสคือ “พระยากง” ซึ่งได้ครองราชย์สืบต่อมา (พงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระยากงครอง เมืองกาญจนบุรี) พระมเหสีของพระองค์ได้ประสูติโอรสองค์หนึ่ง ซึ่งโหรทำนายว่ามีบุญญาธิการมาก แต่จะกระทำปิตุฆาต คือฆ่าพ่อ พระยากงจึงให้นำพระโอรสไปฆ่าเสียพระมเหสีจึงลอบเอาพระกุมารไปให้ “ยายหอม” เลี้ยงไว้
เมื่อพระกุมารเจริญพระชันษายายหอมก็นำไปมอบให้กับพระยาราชบุรีเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมืองราชบุรีนั้นเป็นเมืองขึ้นของพระยากง จึงจำเป็นต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปเป็นเครื่องบรรณาการทุกปี แต่พระโอรสหนุ่มกลับมีดำริว่า ไม่จำเป็นจะต้องจัดส่งสิ่งของเหล่านั้นไปให้พระยากงอีก พระยากงจึงยกทัพมายัง เมืองราชบุรีโทษฐานคิดเป็นกบฏ ศึกครั้งนั้นนำไปสู่เหตุการณ์ชนช้างระหว่างพ่อกับลูกแล้วพระโอรสก็ได้กระทำปิตุฆาตฆ่าพระยากงขาดคอช้างที่ตรงจุดนั้นเรียกกันว่า “ถนนขาด” จากนั้นพระโอรสก็สามารถเข้ายึดเมืองของพระยากงได้สำเร็จ เหล่าขุนนางต่างยกพระราชสมบัติให้ทรงมีพระนามว่า “พระยาพาน”
ในค่ำคืนหนึ่งพระยาพานได้เข้าไปยังตำหนักพระมเหสีของพระยากง (คือแม่ของตัวเอง) หมายจะกระทำสังวาสด้วย สรรพสัตว์หลายชนิดต่างส่งเสียงเป็นสัญญาณเตือนถึงเหตุร้ายนี้ แต่พระมเหสีก็จำได้ดีว่าพระยาพานคือพระโอรสของพระองค์ที่ไปฝากยายหอมเลี้ยงไว้ เพราะทรงจำรอยแผลบนพระพักตร์ที่เกิดขึ้นจากการนำพานมารองรับเมื่อครั้งประสูติได้ (อันเป็นที่มาของชื่อพระยาพาน) เมื่อพระยาพานทราบความตามนั้นแล้วจึงโกรธยายหอมมากเพราะไม่ยอมบอกความจริง จึงได้ สั่งให้ฆ่ายายหอมเสีย (บางที่เขียนเป็น “พระยาพาน” ด้วยเหตุที่ฆ่าพ่อตัวเองและฆ่ายายหอมที่เลี้ยงดูมา) สถานที่ที่ฆ่ายายหอมนั้นก็เรียกกันว่า “บ้านยายหอม” หรือ “โคกยายหอม”
จากเหตุการณ์คราวนั้นก็นำความเศร้าโศกมาให้พระยาพานเป็นอย่างมาก พระองค์จึงคิดที่จะไถ่บาป โดยเรียกประชุมเหล่าขุนนางอำมาตย์และภิกษุสงฆ์ สถานที่ที่ประชุมนั้นจึงเรียกว่า “ธรรมศาลา” พระมหาเถระจึงแนะนำให้พระองค์ก่อพระเจดีย์ขนาดใหญ่เพื่อไถ่บาป พระยาพานจึงได้สร้าง “พระเจดีย์สูงใหญ่ชั่วนกเขาเหิน สร้างวัดเบื้องสูงท่าประธม ทำพระวิหาร 4 ทิศ ไว้พระจงกรมองค์ 1 พระสมาธิ ทั้ง 3 ด้าน ประตูแขวนฆ้องใหญ่ ปากกว้าง 3 ศอกทั้ง 4 ประตูทำพระระเบียงรอบพระวิหาร แล้วบรรจุพระบรมธาตุเขี้ยวแก้วในพระเจดีย์ใหญ่...” เจดีย์องค์นี้เชื่อกันว่าคือ พระปฐมเจดีย์

การบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์

ในขณะนั้นชาวบ้านยังคงเลื่อมใสไปนมัสการอยู่เสมอโดยเรียกพระเจดีย์นี้ว่า "พระประธมเจดีย์" พระเจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีพระดำริว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุในสมัยรัตนโกสินทร์ ในขณะทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ถูกทิ้งร้างอยู่ในป่ารก ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงให้ขุดคลองเจดีย์บูชาและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างกรุงเทพ ฯ กับนครปฐมให้สะดวกขึ้น โปรดให้สร้างพระราชวัง ชื่อ "วังปฐมนคร" เพื่อใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระปฐมเจดีย์ และให้เปลี่ยนชื่อเจดีย์จากเดิมว่า "พระประธมเจดีย์" เป็น "พระปฐมเจดีย์ องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืนเป็นประจำทุกปี

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ประวัติของพระร่วงโรจนฤทธิ์

พระร่วงโรจนฤทธิ์ในเอกสารกระทรวงโยธาธิการลงวันที่ 3 พฤษภาคม ร.ศ.130 และประกาศถวายพระนามพระพุทธปฏิมาที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์พระปฐมเจดีย์กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราชา พ.ศ. 2451 เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมากมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัยมีลักษณะงดงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยแต่ชำรุดมากยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรพระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาทซึ่งสันนิษฐานได้แน่ว่าเป็นพระพุทธรูปยืนห้ามญาติจึงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯแล้วให้ช่างปั่นกรมศิลปากรสถาปนาขึ้นให้บริบูรณ์เต็มองค์ เมื่อทำหุ่นเสร็จพร้อมที่จะเททองได้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูป ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2451 ที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อการหล่อแล้วเสร็จ มีขนาดสูงตั้งแต่พระบาทถึงพระเกศ 12 ศอก 4 นิ้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังพระวิหารพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ออกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 เจ้าพนักงานจัดตกแต่งประกอบตั้งต่อมาจนแล้วเสร็จบริบูณ์ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458
ต่อมาเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ประทับแรมอยู่ ณ พลับพลาเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2466 ได้ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระพุทธปฏิมากรพระองค์นั้นว่ายังหาได้สถาปนาพระนามจึงได้ถวายพระนามว่า "พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาสมหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร"

ลักษณะพระร่วง

เป็นพระพุทธรูปประทับยืนบนฐานหล่อบัวคว่ำบัวหงาย วงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม นิ้วพระหัตถ์และพระบาทไม่เสมอกันห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกายพระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระในลักษณะกิริยาห้ามญาติ หล่อด้วยโลหะ

พุทธคุณของพระร่วงโรจนฤทธิ์

พุทธคุณ มหาอำนาจ โชคลาภ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาด คงกระพันปราศจากอันตราย

บรรณานุกรม

ผมลักษณ์ คำตรง . (2564). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมจดีย์. กรุงเทพ ฯ ครั้งเเรกโรงพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด. เขตการศึกษาที่1กระทรวงศึกษาธิการ.
สรัญญา สุริยรัตนกร. / กฤษฎา พิณศรี. / และ ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง. (2548).
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปฐมเจดีย์สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ เพชรเกษมการพิมพ์ , 2528
เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่และการบูรณะ และปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร . (โดยเสด็จพระราชกุศลในงาน พระราชทานเพลิงศพ)
พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุลเถร) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. 2501 พงศาวดารเหนือ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. (พิมพ์ในงานพระราชทาน เพลิงศพ มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี(หม่อม ราชวงศ์มูลดารากร)
สฤษดพิ์งศ์ ขุนทรง. โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลาง แห่งทวารวดี.-- กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557. พิมพ์ที่: บริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด
สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ . (2542). เที่ยวนครปฐม. พิมพ์ครั้งแรก โรงพิมพ์ สุวีริยาสาส์น จัดพิมมาลี แดง
ดอกไม้. (2542). ใต้ร่มพระปฐมเจดีย์:วิถีถิ่นนครปฐม. โรงพิมพ์ บริษัท แสงปัญญาเลิศ จำกัด.
องค์การค้าของคุรุสภา(2550). อวดภาพเก่าเล่าความหลัง. โรงพิมพ์ บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

ศิลปะทวารวดี

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16

ศิลปะทวารวดีนับเป็นพุทธศิลป์เริ่มแรกในดินแดนไทย อยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 พบแหล่งใหญ่ที่สำคัญในภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี (อำเภออู่ทอง) หรือทางตะวันตก เช่น ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บางแห่งได้พบเหรียญโลหะ จารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต จารึกเกี่ยวกับพระราชาแห่งทวารวดี (ศรีทวารวดีศวรปุณยะ)
วัฒนธรรมทวารวดีนอกจากภาคกลางและภาคตะวันตกแล้ว ยังมีที่เพชรบูรณ์ (เมืองศรีเทพ) และที่ปราจีนบุรี (เมืองศรี-มโหสถ) รวมถึงเมืองโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคเหนือยังไม่ชัดเจน บรรดาศิลปกรรรมสำคัญที่พบในแหล่งเหล่านี้ใช้วัสดุที่ประกอบด้วย ดินเผา สำริด และศิลา เพื่อสร้างประติมากรรม ส่วนสถาปัตยกรรม นอกจากศิลาแล้ว ยังมีที่ก่อด้วยศิลาแลงล้วนหรือผสมกับงานก่อศิลา ก่อร่วมกับอิฐหรือก่ออิฐล้วนก็มี โดยมีรูปแบบเก่าแก่ร่วมสมัยกับสถาปัตยกรรมของบรรดาเมืองโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากต้นแบบที่แพร่หลายมาจากดินแดนอินเดียโบราณ
พัฒนาการของศิลปกรรมในดินแดนร่วมสมัยเหล่านี้เมื่อมีรูปลักษณ์เฉพาะของดินแดนตน มีชื่อเรียกตามชื่อเรียก ตามชื่อเมืองสำคัญอันเป็นศูนย์กลางการปกครอง สังคมและศาสนา เช่น ศิลปะลังกาสมัยเมืองอนุราธปุระ เรียกย่อจากชื่อประเทศศรีลังกา อยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์เอเชียใต้ ต่อมาก็มีศิลปะสมัยเมืองศรีเกษตร สมัยเมืองพุกาม เรียกตามชื่อราชธานีเก่าแก่ในประเทศเมียนมา สำหรับชื่อที่อิงจากภูมิศาสตร์ ได้แก่ ศิลปะชวาภาคกลาง (ในประเทศอินโดนีเซีย) ส่วนศิลปะจามเป็นชื่อกลุ่มชนชาติจามโบราณ เดิมอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศเวียดนาม ศิลปะศรีวิชัยเกี่ยวข้องกับศิลปะในพุทธศาสนามหายาน จากชวาภาคกลาง
แรงบันดาลใจร่วมกันด้านศิลปะวัฒนธรรม ต่างมีพัฒนาการโดยมีลักษณะเฉพาะของตน เมื่อมีการเกี่ยวข้องกันจากการเดินทางไปมาค้าขาย ก็เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเททางศิลปกรรมด้วย
ทั้งนี้เมืองทวารวดีเพียงบางแหล่งเท่านั้นที่ได้พบข้อมูลด้านจารึก แต่น้อยมากทั้งการนำมาใช้ช่วยกำหนดอายุศิลปะ จากลักษณะทางอักษรภาษาก็ให้ผลเพียงระดับหนึ่ง เช่น จารึกชื่อของพระราชาบนเหรียญโลหะ จารึกบนศิลาบางหลักบอกเล่าอย่างสั้น ๆ พระราชกิจของพระองค์ หรือพระราชวงศ์ชั้นสูงบ้าง หรือไม่ก็จารึกเป็นคาถาสั้น ๆ ไม่ได้ระบุปีที่จารึก กำหนดอายุคร่าวๆ จึงได้จากนักภาษาโบราณผ่านการพิจารณาลักษณะพัฒนาการของตัวอักษรภาษา แต่หากจารึกเหล่านั้นถูกเคลื่อนย้าย ไม่ได้อยู่กับศิลปกรรม การใช้ประโยชน์เชื่อมโยงเพื่อกำหนดอายุของศิลปกรรมย่อมลดน้อยลง
ดังนั้นนอกจากข้อมูลด้านกำหนดอายุจากจารึกแล้ว ภาพรวมของศิลปะทวารวดีในระยะต้น ๆ ซึ่งอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 และสิ้นสุดเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ได้อาศัยเทียบแบบอย่างที่สืบเนื่องจากอินเดียและจากศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาค ที่มีหลักฐานการกำหนดอายุ

สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี

คำเรียกศิลปะสถาปัตยกรรม หรือเรียกเพียงคำว่า สถาปัตยกรรม ให้ความหมายตรงกันว่าเป็นงานก่อสร้าง เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในการประกอบกิจพิธี ด้วยทัศนะ ด้านความงามจากรูปแบบรูปทรงและลวดลายประดับเพื่อโน้มนำศรัทธา สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีใช้ศิลาบ้าง ส่วนใหญ่ใช้ศิลาแลง และมีอิฐเป็นวัสดุหลักด้วย มีขนาดก้อนใหญ่กว่าอิฐก่อโดยทั่วไป ในบรรดาสถาปัตยกรรมของสมัยต่อมา ช่างสมัยทวารวดี มีที่ใช้อิฐก่อส่วนบน ขณะที่ส่วนล่างคือฐานก่อด้วยศิลาแลง เพราะรองรับน้ำหนักได้ดีกว่า และขุดตัดได้จากแหล่งธรรมชาติ ขณะอิฐต้องมีกระบวนการผลิต
ส่วนฐานบัววลัยของพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร นครปฐม

แผนผัง "ยกเก็จ"

เจดีย์ทวารวดีที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้าและ "ยกเก็จ"น่าจะได้รับอิทธิพลหรือแรงบันดาลใจในการสร้างมาจากศิลปะอินเดียแบบ ปาละตอนต้น ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ดังตัวอย่าง ที่เมืองนาลันทาและเมืองสารนาถ เมืองศูนย์กลาง การศึกษาและเผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดีย แผนผังอาคารที่ยกเก็จ 2 เก็จในแต่ละด้าน โดยยกเฉพาะที่มุมคั่นด้วยพื้นที่ระหว่างเก็จ โดยไม่มีเก็จประธานตรงกลาง เรียกว่าผังแบบ "ทวิรถะ" เป็นแบบที่พบน้อยในสมัยทวารวดี เช่นที่เจดีย์หมายเลข 9 เมืองอู่ทอง ส่วนแผนผังอาคารที่ยกเก็จ 2 เก็จ ที่มุมทั้งสองข้างและตรงกลางยกเก็จประธาน ซึ่งมักแตกมุมย่อยๆโดยที่เก็จมุมนั้นเป็นมุมหนาไม่แตกมุม เรียกแผนผังแบบนี้ว่า "ตรีรถะ" ปรากฎพบแพร่หลายทั่วไปในสมัยทวารวดี
ภาพลายเส้นฐานเจดีย์แบบบัววลัย วัดพระเมรุ นครปฐม
"บัววลัย" มีที่มาจากฐานอาคารในศิลปะอินเดียภาคใต้ที่เรียกว่า "'กุมุท" ซึ่งคงสืบเนื่องมาจากฐานรูป หม้อน้ำในอินเดียภาคเหนือ สื่อถึงความเชื่อเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ความนิยมในการทำฐานบัวลักษณะนี้แพร่หลายอยู่ในประเทศที่รับอิทธิพลศิลปกรรมความเชื่อจากอินเดียในช่วงเวลาร่วมสมัยทวารวดีด้วย เช่น ในศิลปะชวาภาคกลางของ อินโดนีเชีย ศิลปะจาม ในเวียดนาม ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร และศิลปะศรีเกษตรและพุกามในพม่า

เจดีย์ทวารวดี : ชนิดและรูปแบบ

เจดีย์คือสิ่งก่อสร้างอันควรเคารพบูชา สถาปัตยกรรมที่เรียกว่าเจดีย์สมัยทวารวดี พัฒนาการมาจากศิลปะอินเดียโบราณ ซึ่งแบบอย่างต่าง ๆ ได้รับการสืบเนื่องผสมผสานกับพื้นฐานเดิมที่มีในท้องถิ่น ได้เป็นรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกันไป เจดีย์คือ สัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ รูปทรงปริมาตรของเจดีย์ตั้งแต่ส่วนฐาน ที่แผ่สอบขึ้นของส่วนบน จึงหลงเหลือซากอยู่มากกว่าอาคาร วิหาร ซึ่งใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป และเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ซากสิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีที่ควรเรียกอีกอย่างว่า เจดีย์วิหาร คือการผสมผสานแบบอย่าง ความหมาย และหน้าที่ใช้งานระหว่างเจดีย์กับวิหาร

เจดีย์สมัยทวารวดี แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

เจดีย์ไม่มีเรือนธาตุ องค์ประกอบสำคัญของเจดีย์แบบนี้อยู่ที่ตรงส่วนกลาง หรือ องค์ระฆัง จึงมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. เจดีย์ทรงภาชนะหม้อน้ำ

เป็นแบบที่พบแพร่หลายในวัฒนธรรมทวารวดี ประกอบด้วยส่วนฐาน อาจเป็นฐานบัว ในผังกลมและสี่เหลี่ยมบางแห่งเป็นฐานทรงกระบอก หรือเป็นฐานผายออก คล้ายฐานของพาน ส่วนกลาง หรือตัวเจดีย์เป็นทรงหม้อน้ำ มีฐานดอกบัวรองรับ ส่วนยอด เหนือส่วนคอหรือปากหม้อน้ำเป็นก้านฉัตรที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเจดีย์ บางองค์มีแท่นบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับส่วนยอดฉัตรมักทำเป็นแผ่นกลมๆช้อนลดหลั่นขึ้นไปเหมือนฉัตรจริงต่อด้วยปลี
เจดีย์ ศิลา สูง 3.90 ม. นครปฐม (พ.ช.พระนคร)
เครดิตภาพ: https://shorturl.asia/WpNxH

2. เจดีย์ทรงระฆัง

องค์ประกอบส่วนกลางขององค์เจดีย์คล้ายระฆังเหมือนกับเจดีย์ทรงระฆังในสมัยหลัง แต่รูปแบบองค์ระฆังในสมัยทวารวดีจะมีขนาดเล็ก เตี้ย ส่วนใหญ่มี เอวคอด องค์ประกอบอื่นๆ คล้ายกับเจดีย์ทรงหม้อน

เครติดภาพ: https://shorturl.asia/8Rwde

องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูประฆัง

เจดีย์มีเรือนธาตุ

เป็นเจดีย์ที่มีส่วนฐานสี่เหลี่ยมยกสูง ส่วนใหญ่เป็นฐานบัว ต่อด้วยส่วนเรือนธาตุที่เป็นสี่เหลี่ยม มีจระนำซุ้ม แล้วจึงต่อด้วยส่วนยอดที่เป็นทรงระฆังหรือทรงหม้อน้ำเหมือนกับกลุ่มแรก เพียงแต่เพิ่มส่วนเรือนธาตุเข้ามารองรับองค์ระฆัง
ชิ้นส่วนของเจดีย์จำลองดินเผา (ภาพซ้ายมือ 48.5 ซ.ม. กลาง 41 ซ.ม. ขวามือ 38 ซ.ม.) (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)

วิหาร สำหรับประดิษฐานรูปเคารพ

ตั้งแต่ต้นแบบในประเทศอินเดียโบราณ วิหาร อันเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญในพุทธศาสนา ผ่านการออกแบบให้เป็นสัญลักษณ์และมีความสำคัญด้วยฐานันดรสูงสุดในคติทางศาสนา นักวิชาการอธิบายว่าอาคารที่เรียกว่า “ปราสาท” ของผู้ร่ำรวยมีอำนาจวาสนา คือต้นแบบที่ตกทอดมาก่อนที่จะนำมาสร้าง ในวัฒนธรรม ศาสนา เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ
เมื่อดินแดนต่าง ๆ นำรูปแบบของปราสาทมา สร้างเพื่อประดิษฐานรูปเคารพสูงสุด จึงเกิดมีรูปแบบตามพื้นฐานความคิดและรสนิยมในดินแดนของตน โดยที่สาระสำคัญจากต้นแบบยังมีอยู่ด้วย
แบบอย่างของเจดีย์ควบวิหาร คืออาคารที่มียอด ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า “เจดีย์วิหาร” ในสมัยทวารวดีเหลือถึงปัจจุบันเพียงซากฐาน เดิมเคยมีพื้นที่คูหา สำหรับประดิษฐานรูปเคารพและกระทำพิธีทางศาสนา ส่วนบนหรือเครื่องยอดของอาคารอาจเป็นทรงมะนาวตัด (ที่มาของทรงระฆังในปัจจุบัน) ต่อยอดทรงกรวย การสันนิษฐานดังกล่าวได้จากหลักฐานของอาคารยังมีอยู่ในศิลปะอินเดียโบราณ หรือจากศิลปะในดินแดนใกล้เคียง เช่น เจดีย์วิหารสมัยเมืองศรีเกษตรต่อเนื่องมาสมัยเมืองพุกามของประเทศพม่า หรือในศิลปะชวา ภาคกลางของประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น
อาคารที่เรียกว่า “ปราสาท” ของผู้ร่ำรวยมีอำนาจวาสนา คือต้นแบบที่ตกทอดมาก่อนที่จะนำมาสร้างในวัฒนธรรม ศาสนาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ
เมื่อดินแดนต่างๆ นำรูปแบบของปราสาทมาสร้างเพื่อประดิษฐานรูปเคารพสูงสุด จึงเกิดมีรูปแบบตามพื้นฐานความคิดและรสนิยมในดินแดนของตน โดยที่สาระสำคัญจากต้นแบบยังมีอยู่ด้วย
แบบอย่างของเจดีย์ควบวิหาร คืออาคารที่มียอด ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า “เจดีย์วิหาร” ในสมัย ทวารวดีเหลือถึงปัจจุบันเพียงซากฐาน เดิมเคยมีพื้นที่คูหา สำหรับประดิษฐานรูปเคารพและกระทำพิธีทางศาสนา ส่วนบนหรือเครื่องยอดของอาคารอาจเป็นทรงมะนาวตัด (ที่มาของทรงระฆังในปัจจุบัน) ต่อยอด ทรงกรวย การสันนิษฐานดังกล่าวได้จากหลักฐานของอาคารยังมีอยู่ในศิลปะอินเดียโบราณ หรือจากศิลปะในดินแดนใกล้เคียง เช่น เจดีย์วิหารสมัยเมืองศรีเกษตรต่อเนื่องมาสมัยเมืองพุกามของประเทศพม่า หรือในศิลปะชวา ภาคกลางของประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น
ซากเจดีย์วิหาร วัดพระเมรุ (ร้าง) นครปฐม กว้าง-ยาว ประมาณ 70×70 ม.
ภาพร่างลักษณะสถูป​วัดพระเมรุที่มีการบูรณะและขยายออกอย่างน้อยสี่ครั้ง ทำขึ้นโดย ผศ.นุกูล ชมภูนิช โดยใช้จินตนาการเปรียบกับอานันทเจดีย์ที่พุกาม
งานศึกษาเทียบเคียงกับอานันทเจดีย์ (สร้าง พ.ศ. 1634) ในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม อานันทเจดีย์ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของเจดีย์วิหารหรือกู่ในศิลปะพุกามตอนต้น รัชกาลพระเจ้าจันสิตถาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นเจดีย์ที่อยู่ในผังครรภคฤหะสี่ทิศ มณฑปสี่ทิศ ซึ่งทำให้แผนผังกลายเป็นกากบาท ตรงกลางปรากฏแกนกลางทึบขนาดใหญ่รับน้ำหนักของยอดศิขระ แผนผังแบบนี้ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ในศิลปะปาละ เช่น หรรปุระและวิกรมศิลา ภายนอกปรากฏหลังคาลาดขนาดใหญ่ที่ประดับสถูป ขนาดเล็กทั้งสี่ทิศ หลังคาลาดนี้รองรับศิขระซึ่งประดับซุ้มที่เก็จประธาน โดยทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับหลังคาลาดและศิขระของเจดีย์นาคยน อย่างไรก็ตาม หน้าต่างที่ไม่มีแผงกั้นของ อานันทเจดีย์ ย่อมทำให้แสงสามารถเข้าไปภายในอาคารได้มากกว่าเจดีย์ในระยะก่อนหน้า ซึ่งยังอยู่ในสภาพดีมาก เป็นไปได้ว่าเจดีย์วัดพระเมรุอาจเป็นต้นแบบให้ทางเมืองพุกาม จระนำมุมผนังด้านนอกทุกมุมคงมีพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนจุดสีแดงในแผนผังอยู่ภายในอาคาร คือ ตำแหน่งที่เชื่อว่าเคยประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง
ซากเจดีย์วิหารจุลประโทน 24×24 ม. นครปฐม และรูปแบบสันนิษฐาน
เจดีย์จุลประโทนสร้างขึ้นจากอิฐ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาแล้ว 1-2 ครั้งในอดีต สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุทึบตัน ส่วนยอดหักพัง จนไม่เหลือร่องรอยแผนผังของฐานล่างสุดเป็น ผังสี่เหลี่ยม ประดับด้วยเสาคั่นเป็นระยะ ระหว่างเสาแต่ละต้นประดับภาพปูนปั้นและดินเผาเล่าเรื่องชาดก ในพุทธศาสนาและรูปอื่นๆ ปัจจุบันเคลื่อนย้ายไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ แล้วกึ่งกลางของแต่ละด้านเป็นบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ ทั้งนี้ฐานส่วนนี้ปัจจุบันจมอยู่ใต้ดิน
องค์ประกอบชั้นถัดมาเดิมทีเคยอยู่ในผังสี่เหลี่ยมยกเก็จ ที่กลางด้านและที่มุม อันเป็นระเบียบทั่วไปของเจดีย์ทวารวดี แต่ต่อมาถูกก่อทับโดยฐานสี่เหลี่ยมที่ประดับด้วยบัววลัยหรือกลดและเสาคั่นเป็นระยะ ทำให้เกิดพื้นที่สี่เหลี่ยมระหว่างเสา ปัจจุบันฐานสี่เหลี่ยมนี้ปรักหักพังลง ทำให้บางด้านสามารถมองเห็นฐาน ยกเก็จที่ซ้อนอยู่ภายในได้
ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุทึบตัน ประกอบด้วยซุ้มจระนำประดิษฐาน พระพุทธรูปเรียงรายโดยรอบ พระพุทธรูปได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ แล้วถัดขึ้นไปไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่ ศาสตราจารย์ ปิแอร์ ดูปองส์ สันนิษฐานว่าอาจซ้อนชั้นขึ้นส่วนที่ยังหลงเหลือ แม้ผ่านการขุดแต่งบูรณะแล้วแต่ยังมีมากพอใช้เพื่องานสันนิษฐาน รูปแบบ ทั้งยังประโยชน์สำหรับการสันนิษฐานจากเจดีย์ร้างองค์อื่น (ผลการศึกษาของ พิริยะ และของนันทนา ดูใน ศักดิ์ชัย, 2547 : 226 -233). (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
โบราณสถานเนินพระและรูปแบบสันนิษฐาน
พบ “เนินพระ” เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่นอกบริเวณวัดห่างออกไปทางทิศเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ลักษณะของเนินพระ เป็นเนินดินกว้าง สูงประมาณ 8 เมตร ซึ่งเนินดินนี้ปกคลุมไปด้วยซากเจดีย์ขนาดใหญ่ที่ก่อด้วยอิฐมอญแดงของเจดีย์หักโค่นไปครึ่งองค์พื้นที่บริเวณดังกล่าว ปูด้วย อิฐแผ่นใหญ่และจากการขุดแต่ง องค์เจดีย์พบว่าเป็นเจดีย์สมัยทวารวดีเป็นโบราณสถานตั้งอยู่นอกเมืองนครปฐมโบราณไปทางทิศใต้ ห่างจากองค์พระปฐม เจดีย์ ประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา เพราะพบหลักฐานสำคัญคือ ธรรมจักรศิลา พร้อมเสาขนาดใหญ่ และกวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ พบในเมืองนครปฐมโบราณ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดดอนยายหอม

พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร
แบบสันนิษฐาน โดย ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม
อดีตอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2530

พระประโทณเจดีย์
วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร
ในปัจจุบัน

วัดพระประโทณเจดีย์ สันนิษฐานว่าการสร้าง ครั้งแรกสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันไปทางทิศเหนือขององค์พระประโทณเจดีย์ประมาณ 1,200 เมตร วัดพระประโทณเจดีย์ ปัจจุบันสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2324 ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขององค์พระประโทณเจดีย์ประมาณ 20 เมตร สันนิษฐานว่าย้ายมาจากที่เดิม เมื่อ 200 ปีเศษ เพราะมีกุฏิโบราณหลังหนึ่งจารึกตัวหนังสือและตัวเลขด้วยปูนบอกว่าซ่อมเมื่อ พ.ศ. 2456 จากหลักฐานดังกล่าว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2366 – 2370 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติว่า วัดพระประโทณเจดีย์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2324 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2324

โบราณสถานวัดธรรมศาลา รูปแบบสันนิษฐาน

พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหารในปัจจุบัน

วัดธรรมศาลามีเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับตำนานพญากง พญาพาน คือ หลังจากที่พญาพานทำปิตุฆาตพระราชบิดากับยายหอม ได้ทรงสำนึกในบาปบุญคุณโทษของตนที่ทำไว้ และทรงวิตก ว่าจะได้รับสนองกรรมอย่างหนัก จึงโปรดให้ประชุมพระอรหันต์และพระสงฆ์จากอารามต่าง ๆ โดยได้ปลูกสร้างโรงธรรมขนาดใหญ่ ไว้ใกล้เนิน หรือถ้ำเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์ ผู้คนบริเวณนี้เรียกว่า ธรรมศาลา ชื่อนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อวัด
คาดว่าแต่เดิมมีเนิน หรือถ้ำในวัดธรรมศาลา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยแรกสร้างพระปฐมเจดีย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 306 เชื่อว่ามีขุมทรัพย์อยู่ แต่นำออกมาไม่ได้เนื่องจากมีปู่โสมเฝ้าอยู่ แต่บางท่านเล่าลือว่าเป็นถ้ำที่ปรึกษาของผู้มีบุญ และเจ้าผู้ครอง นครสมัยเก่า และยังมีถ้วยโถโอชามมากมาย เนินนี้ตั้งอยู่หลังวิหารของวัดธรรมศาลา สภาพในปัจจุบันเป็นเนินดินโบราณ ด้านในเป็นโพรง เชื่อกันว่าเป็นอุโมงค์เชื่อมจากวัดพระเมรุมาถึงวัดธรรมศาลา แต่ปัจจุบันถูกปิดตายไปแล้ว
ประวัติการตั้งวัดระบุว่าตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2396 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 โดยไม่ได้ลงระวางแนวเขต

วิวัฒนาการพระปฐมเจดีย์

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ เป็นพระสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะตั้งอยู่ ในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นพระอามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ภายในเจดีย์จะเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปฐมเจดีย์นั้นได้ถูกสร้างและปฏิสังขรณ์มาอย่างน้อย 3 ครั้งแล้ว และไม่มีใครทราบว่าพระปฐมเจดีย์ถูกสร้างในยุคสมัยใด แต่มีขอสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูต เผยแพร่ศาสนา นักโบราณคดีต่างเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูต และมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมเป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะทรงผนวช ได้เสด็จธุดงด์มานมัสการ ทรงเห็นพระเจดีย์ยอดปรางค์สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อปีพุทธศักราช 2396 ทรงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคต 2 ชั้น ทั้ง 4 และระเบียงโดยรอบทิศ แต่งานไม่ทันเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือสร้างใหม่ เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และรัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่
นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมในครั้งนั้น จนเวลารวมมาเป็นร้อยปีเศษ ก็ไม่ได้ทำการบูรณะอีกเลย มีแต่เพียงซ่อมแซมเล็กน้อย ที่ชำรุดบางส่วนเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อปีพุทธศักราช 2509 ทางวัดพบว่าตัวองค์พระปฐมเจดีย์มีรอยแตกร้าวหลายแห่ง พระเบื้องที่ระดับหลุดร่วงลงมา จึงได้แจ้งเรื่องยังไปรัฐบาลสมัยนั้น เพื่อทำการบูรณะใหม่ ซึ่งใช้เวลาในการบูรณะร่วมถึง 8 ปี

พระพุทธรูป และประติมากรรมอื่น

พระพุทธรูปคือรูปสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ วัสดุสำหรับสร้างพระพุทธรูป เกิดจากงานปั้น (ปั้นดินหรือปั้นปูนก็ตาม) คือกรรมวิธีเอาออก หรือเพิ่มก็ตาม ให้เกิดเป็นรูปร่าง หากปั้นดินแล้วนำเข้าเตาเผา คือ งานดินเผา ส่วนงานปั้นหุ่นดิน เพื่อบุแผ่นขี้ผึ้งหรือปั้นหุ่นจากขี้ผึ้งโดยตรงแล้วทำแม่พิมพ์หุ้มหุ่นขี้ผึ้ง สุมไฟพิมพ์เพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกจนหมดแล้วจึงเทน้ำทอง (โลหะผสม) ที่หลอมเหลวถึงจุดเดือดลงไปในพิมพ์ น้ำทองลงไปแทนหุ่นขี้ผึ้ง (เรียกกรรมวิธีนี้ว่าสูญขี้ผึ้ง) คือกรรมวิธีหล่อประติมากรรมสำริด (โลหะ) หากเป็นงานสลักจากก้อนศิลา คือสลักหรือสกัดเอาเนื้อศิลาส่วนที่ไม่ต้องการออกเพื่อให้ได้เป็นรูปประติมากรรม นอกจากนั้นก็มี งานดุนนูนแผ่นโลหะให้เป็นรูปเจดีย์ หรือรูปพระพุทธองค์ เป็นต้น อนึ่งน่าเสียดายที่ภาพพระพุทธองค์ จากกรรมวิธีด้านจิตรกรรมของสมัยทวารวดี ไม่มีหลงเหลือให้ได้รับรู้กันแล้ว
พระพุทธองค์ประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม สูง 3.68 ม. (พ.ช.พระนคร)
หนึ่งในห้าองค์ที่พบนครปฐม (ดูรายละเอียดอีกสี่องค์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ 2548 : 16-17) พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ (อก) ปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) แตะกับปลายพระดัชนี (นิ้วชี้) หมายถึงทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา)
พระพุทธองค์ประทับยืนตรงพระหัตถ์ ทั้งสองในปางแสดงธรรมศิลา สูง 2.85 ม. (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)
พระกรที่เหลืออยู่มีรูสำหรับเสียบเดือยสำหรับต่อปลายพระหัตถ์ซึ่งหลุดหายไปแล้ว พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีที่มักสลักแบน คือลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง รวมทั้งแนวนูนที่คาดบั้นพระองค์ (เอว) ซึ่งไม่ใช่แถบใหญ่ของรัดพระองค์ (เข็มขัด)
เศียรพระพุทธรูป ปูนปั้น สูง 45.5 ซ.ม. นครปฐม (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)
หัวพระขนง (คิ้ว) จรดกันเป็นรูปปีกกา สัมพันธ์กับพื้นที่ของพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งค่อนข้างกว้าง พระเนตรโปนหรี่ลงต่ำ พระนาสิก (จมูก) มักโด่งกว่างานสลักศิลา พระมัสสุ (หนวด) เหนือริมพระโอษฐ์หนา คือ เครื่องประกอบพระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี
เศียรพระพุทธรูปดินเผา สูง 20 ซ.ม. พบที่วัดพระงาม นครปฐม (พ.ช. พระนคร)
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลาบูรณะ 52 ปี มีพระภิกษุ 2 รูปจากวัดพระปฐมเจดีย์ คือพระวินัยธรจุ้ยและพระอาจารย์ฮะ ได้มาจำพรรษาที่วัดพระงามซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง จึงได้แผ้วถางที่รกร้างว่างเปล่าพบกุฏิโบราณ 1 หลัง วิหารบนเนินดิน มีพระพุทธรูปเก่าและซากเจดีย์ใหญ่หักอยู่ 1 องค์ สันนิษฐานว่าเนินดินนั้นคงเป็นซากเจดีย์พังทลายลง ตามกาลเวลา ส่วนวิหารบนเนินดินสันนิษฐานว่าเป็นวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เพราะเป็นวิหารรูปเรือสำเภาแบบอยุธยาทั้งสองรูปได้พัฒนาวัด สร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ หลังคามุงแฝก จนมีพระมาจำพรรษา 4–5 รูป ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา ได้ช่วยกันสร้างกุฏิ อุโบสถ โดยมีพระอาจารย์ฮะเป็นผู้ริเริ่ม อุโบสถ ขนาดความยาว 9 วา กว้าง 6 วา ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาว่า วัดโสภา- พุทธาราม บางแหล่งเขียน วัดโสดาพุทธาราม ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงสำรวจวัด และทรงเรียกว่า "วัดพระงาม" สาเหตุจากค้นพบเครื่องดินเผาที่เป็นเศียรพระพุทธรูปที่งดงามได้ที่วัดยกย่องกันว่าเป็นพระพักตร์งามที่สุดเศียรหนึ่งในบรรดาพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่ค้นพบขั้น-ตอนการปั้นตรงส่วนพระเศียรช่วยให้ทราบได้ว่า ช่างปั้นขึ้นโครงให้เป็นทรงของพระเศียรก่อน แล้วจึงปั้นพอกทับอีกชั้นที่เติมขมวดเม็ดพระศก (ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม)
เศียรพระพุทธรูป ศิลา สูง 36 ช.ม. (พ.ช. พระนคร)
งานสลัก (วัสดุศิลา หรือไม้) คือเอาเนื้อวัสดุออกให้เป็นรูปตามต้องการ แตกต่างจากการพอกเพิ่ม หรือเอาออกของงานปั้น ลักษณะของพระพักตร์เช่นนี้พบได้ค่อนข้างแพร่หลาย คงเป็นงานของกลุ่มช่างหลักช่วงหนึ่งของสมัยทวารวดี
พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ศิลา สูง (สภาพชำรุด) 1.14 ม. นครปฐม (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)
ตอนล่างขวาคือปัญจวัคคีย์พนมมือรับคืนจาก พระพุทธองค์ ล่างซ้ายปัญจวัคคีย์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงบวชให้แล้วทั้งห้า (เอหิภิกขุอุปสัมปทา - เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด) นายช่างสลักภาพใส่แนวหยัก คล้ายก้อนเมฆเพื่อเน้นมิติใกล้-ไกล ส่วนล่าง คือลวดลายที่มีชื่อเสียงแบบหนึ่งในศิลปะทวารวดี ปรากฏในศิลปะ ร่วมสมัยของดินแดนในภูมิภาคนี้ด้วย อนึ่ง ศาสตราจารย์ ฌองบวสเซอลี-เยร์ เห็นว่าเค้าโครงของความหมายทางประติมานวิทยาพบได้ในศิลปะอินเดียเก่าแก่ตั้งแต่ศิลปะอมราวดีมาแล้ว
ศีรษะบุคคลกาลชั้นสูงดินเผา สูง 33 ซ.ม. นครปฐม (พ.ช. พระนคร)
ช่างประติมากรรมดินเผาสมัยทวารวดี มีความชำนาญและฝีมือสูง รวมทั้งงานปูนปั้นด้วย การมีศิราภรณ์แสดงว่าคงเป็นเศียรของพระราชา พระเนตรที่เบิกกว้าง คือข้อสนับสนุนว่าไม่ใช่พระเศียรของพระโพธิสัตว์ ซึ่งโดยทั่วไปพระเนตรมักหรี่ลงต่ำเสมอ น่าเสียดายที่ส่วนพระวรกายชำรุดหายไปหมดแล้ว
ศีรษะบุคคล ปูนปั้น สูง 44.5 ซ.ม. นครปฐม (พ.ช. พระนคร)
อาจเป็นเศียรของพระราชา เพราะประดับศิราภรณ์ พระเนตรเบิกกว้าง มีพระมัสสุ (หนวด) เด่นชัด ใบหน้าบุคคลในงานศิลปกรรมคงมีส่วนผสมบุคลิกลักษณะของนายช่าง หรือกลุ่มชนที่สร้างศิลปกรรมนั้นไม่มาก ก็น้อย อนึ่ง ตลอดสมัยศิลปะทวารวดี คือ ช่วง 400-500 ปี ย่อมมีช่างหลายกลุ่มหลายเชื้อสายต่อเนื่องกันมากว่าสิบช่วงอายุคน

คติความเชื่ออื่นๆ

งานศิลปกรรมที่มีการค้นพบแล้วบางอย่างที่ไม่สามารถจัดได้ว่าเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธหรือศาสนาพราหมณ์ เช่น ประติมากรรมสลักหินหรือดินเผารูปคชลักษมี โดยเฉพาะแผ่นคชลักษมีจะมีเบ้าสำหรับใส่เครื่องหอมซึ่งอาจใช้สำหรับพราหมณ์ในการทำพิธีกรรมทางศาสนา และมีรูปสลักประกอบเป็นเครื่องหมายมงคลต่างๆ เช่น ฉัตร จักร สังข์ แส้ หม้อปูรณฆฏะ เป็นต้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และสัญลักษณ์ของกษัตริย์ พวกพราหมณ์อาจนำติดตัวเข้ามาหรือสร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการประกอบพิธีอันเป็นมงคลต่างๆ โดยอาจใช้ทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์

แผ่นดินเผารูปคชลักษมี นครปฐม (พ.ช. พระนคร)

ประติมากรรมรูปบุคคลและภาพเล่าเรื่องในชีวิตประจำวัน

นอกเหนือจากงานประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพและรูปเล่าเรื่องในศาสนาแล้ว ยังพบประติมากรรมรูปบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะหน้าตาของคนทั่วไป และแสดงให้เห็นถึงภาพชีวิตความเป็นอยู่สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เช่น การละเล่น ดนตรี เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ทรงผม รวมทั้งประติมากรรมเหล่านี้พบทั้งดินเผาและปูนปั้นประดับอาคาร ศาสนสถาน และคงเป็นส่วนประกอบของภาพเล่าเรื่องในศาสนา เช่น ชาดก แต่งานประติมากรรมเหล่านี้ได้หลุดร่วงและแยกออกเป็นชิ้นส่วนจึงไม่ทราบว่าเป็นเรื่องใด

รูปบุคคลขนาดเล็ก

ทั้งงานดินเผาหรืองานปั้นด้วยปูนก็ตาม แม้ไม่ได้พบมากเพียงพอก็ยังช่วยให้เห็นภาพราง ๆ ของวิถีชาวทวารวดีได้บ้าง ส่วนงานสลักบนแผ่นศิลาที่เรียกว่า สีมา (หลักศิลา) ได้พบแพร่กระจายในภาคอีสาน สลักนูนแสดงเหตุการณ์บางตอนในนิทานพุทธประวัติหรือในชาดกบางเรื่องก็มีไม่น้อย

หน้าตาของ “คน” ทวารวดี

ค้นพบประติมากรรมรูปบุคคลเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเมืองโบราณในกลุ่มภาคกลางมีหน้าตาเป็นแบบเดียวกัน อาจสรุปได้ว่าเป็นลักษณะของชาวพื้นเมืองในสมัยนั้น ซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ หน้ากลมแป้น ตากลมโต จมูกค่อนข้างใหญ่ปลายแบน ปากแบะเล็กน้อย ขอบปากหนา ผมเหยียดตรง
ใบหน้าบุคคล พบที่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร นครปฐม
ลักษณะใบหน้าบุคคลนูนสูง เป็นใบหน้าของสตรีวงหน้าค่อนข้างกลม ศีรษะคล้ายโพกด้วยผ้าเป็นขอบหนา อยู่ 2 ข้างของใบหน้า ด้านบนค่อนข้างเรียบ ตกแต่งผ้าด้วยการขูดขีดเป็นลายดอกกลม 3 ดอก ลักษณะใบหน้าค่อนข้างสงบนิ่ง อมยิ้มเล็กน้อย คิ้วเป็นขอบนูนเล็กน้อย ต่อกันเป็นรูปปีกกา ตาโปน ตาดำขูดเป็นลายเส้นวงกลม นัยน์ตาเหลือบต่ำเล็กน้อย เส้นขอบตาเป็นเส้นนูนคล้ายเส้นคู่ จมูกค่อนข้างแบน ริมฝีปากหนา มีร่องแบ่งกึ่งกลางริมฝีปากมุมปากตวัดขึ้นเล็กน้อย ด้านขวาของใบหน้าแลเห็นต่างหูรูปวงรี ด้านหน้าของต่างหูแบนเรียบ ตกแต่งด้วยลายขูดขีดตื้น ๆ ด้านหลังเป็นเส้นขดซ้อน 2 ชั้น
ใบหน้าบุคคล พบที่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร นครปฐม
ลักษณะใบหน้าบุคคลนูนสูง วงหน้าค่อนข้างเหลี่ยมแบนกว้าง ศีรษะคล้ายโพกด้วยผ้า แต่ด้านข้างและด้านบนของผู้โพกหักหายไป สวมต่างหูเป็นแผ่นรูปวงรีขนาดใหญ่หันด้านหน้าออก ด้านหน้าของต่างหูขูดเป็นลายสันวงรี 1 วงด้านซ้ายหักหายไปครึ่งวง คิ้วเป็นเส้นนูนเล็กเรียวโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา จมูกเล็กเป็นสันนูนนัยตาโปนเหลือบต่ำ ปากแบะพูดเป็นร่องมุมปากตวัดขึ้นริมฝีปากล่างหนา ริมฝีปากบนบางจนไม่แลเห็น ใต้คางและใต้ต่างหู มีแผ่นหลังของประติมากรรมติดอยู่
ใบหน้าบุคคล พบที่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร นครปฐม
ลักษณะเป็นใบหน้าของบุคคล น่าจะเป็นใบหน้าของสตรีวงหน้ารูปไข่ ศีรษะคล้ายโพกด้วยผ้า ชายผ้าซึ่งเป็นขอบอยู่ด้านข้างของใบหน้าหักหายไป ตกแต่งผ้าโพกศีรษะด้วยการขูดขีดเป็น ลายเส้น วงกลมคล้ายลายดอกไม้อยู่ตรงกลาง 1 ดอก อีก 2 ดอก อยู่ที่ด้านข้าง
ใบหน้าชาวทวารวดี ปูนปั้น สูง 10.4 ซ.ม. (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)
ใบหน้าของบุคคลจากประติมากรรมประดับต่างหูเป็นวงกลมขนาดใหญ่ คือหนึ่งในเครื่องประดับที่แพร่หลายจากดินแดนต้นแบบ คือ ศิลปะอินเดียมาสู่ศิลปะในภูมิภาคนี้
นักดนตรี
พบรูปนักดนตรีอีกชิ้นหนึ่งเป็นรูปเดี่ยว ได้แก่ ปูนปั้นประดับเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม เป็นรูปบุคคลมีปีกซึ่งน่าจะหมายถึง ครุฑ เทวดา คนธรรพ์ หรือวิทยาธร กำลังเล่นเครื่องดนตรี ซึ่งปัจจุบันพบในภาคเหนือของไทยเรียกว่า พิณเปี๊ยะหรือพิณเพี๊ยะครุฑ หรือเทวดา หรือคนธรรพ์ (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)
นักโทษ
รูปปูนปั้นประดับศาสนสถานพบที่นครปฐม ประกอบด้วยรูปบุคคลสามคนถูกมัดมือไขว้หลัง และมีบุคคลคนหนึ่งกำลังยกเท้าถีบ รูปดังกล่าวหมายถึงนักโทษและผู้ควบคุมอย่างไม่ต้องสงสัย เหตุการณ์นี้คงประกอบอยู่ในชาดกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตามได้สะท้อนให้เห็นถึงสังคมในสมัยนั้นว่ามีการจับตัวนักโทษและการลงโทษกันแล้ว จึงนับเป็นประติมากรรมสำคัญอีกชิ้นหนึ่งซึ่งพบเห็นไม่บ่อยนัก
ประติมากรรมรูปคนแคระและรูปสัตว์
ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะประติมากรรมประดับฐานอาคารเท่าที่พอ จะประมวลได้จากเมืองโบราณสมัยทวารวดีหลาย ๆ แห่ง ส่วนใหญ่มักเป็นดินเผาและปูนปั้นรูปคนแคระและรูปสัตว์ต่างๆ ที่พบมาก คือ สิงห์และช้าง

สิงห์ประดับสถาปัตยกรรม (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)

สิงห์ประดับฐานธรรมจักร (พ.ช.พระปฐมเจดีย์)

สิงห์
สิงห์ เป็นงานประติมากรรมอีกประเภทหนึ่งที่พบมากในสมัยทวารวดี ทั้งที่เป็นประติมากรรมประดับฐานอาคาร (ลักษณะเช่นเดียวกับคนแคระ) เช่นที่เจดีย์จุลประโทน ชั้นนอกสุด และพบเป็นสิงห์ประดับที่ฐานเสาธรรมจักรที่สำคัญ คือ รูปสิงห์ประดับบัลลังก์ของพระพุทธรูปปางแสดงธรรมซึ่งจะพบอยู่เสมอ และสิงห์อีกกลุ่มหนึ่งมีเขา และอาจมีปีกในกลุ่มของสิงห์มีปีก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสัตว์ผสมที่เรียกว่า พนัสบดี ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป เช่น ที่พนักบัลลังก์ รวมทั้งพบว่ามีรูปมกรคายสิงห์ออกมาด้วย รูปสิงห์ที่ประดับอยู่ที่บัลลังก์นี้ มักตีความว่าเป็นเครื่องหมาย แสดงพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนีที่ทรงมีเชื้อสายของราชวงศ์ศากยสิงห์ อย่างไรก็ตามพบส่วนหนึ่งในพุทธศาสนามหายานซึ่งประดับบังลังก์ของพระพุทธเจ้าไวโรจนะ
ช้าง
ประติมากรรมรูปช้างพบไม่มากนักในงานประติมากรรมสมัยทวารวดี ดังที่มีรูปช้างในชาดก คือเรื่องพญาฉัททันต์และหัสติง รูปช้างที่ประกอบในคชลักษมี และช้างที่ประดับส่วนฐานอาคาร ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปช้างทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทั้งหมด นับว่าพบรูปช้างน้อยกว่าสิงห์
ธรรมจักร
วงล้อธรรมจักรศิลาสลักลวดลายประดับ เกือบไม่พบเลยทางภาคอีสาน แต่พบมากทางภาคกลาง เช่น นครปฐม อู่ทอง (สุพรรณบุรี) ลวดลายสลักประดับวงล้อ ธรรมจักร คือหลักฐานสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงแหล่งบันดาลใจต้นแบบจากศิลปะอินเดีย ทั้งช่วยให้เข้าใจความเป็นศิลปะร่วมสมัยระหว่างศิลปะในวัฒนธรรมศาสนาในดินแดนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ธรรมจักรสลักลายคชลักษมี
สถานที่พบ/ประวัติ : พบที่วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม
ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง 73 ซ.ม.
รายละเอียดอื่น : เป็นธรรมจักรที่ไม่ครบสมบูรณ์ สลักซี่กำแบบทึบ มีลวดลายทั้ง 2 ด้าน ที่ส่วนด้านล่างสลักเป็นรูปเทวสตรีอยู่ระหว่างช้าง 2 เชือก ที่ทำท่ารดน้ำอภิเษก ภาพเช่นนี้เรียกกันว่า"คชลักษมี หรือ อภิเษกศรี" อันเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดอันบริสุทธิ์ การเริ่มต้นอันเป็นมงคลตลอดจนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีการตีความว่าอาจหมายถึงปางประสูติของพระพุทธองค์อีกด้วย
ธรรมจักร
สถานที่พบ/ประวัติ : พบในเขตจังหวัดนครปฐม
ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง 66 ซ.ม.
รายละเอียดอื่น : ธรรมจักรวงนี้ สลักแบบมีซี่ทึบ ไม่ได้เจาะช่องโปร่ง จำนวนซี่ราว 17 ซี่ (บางซี่ถูกฐานรูปบุคคลทับอยู่) ที่ฐานล่าง มีรูปบุคคลนั่ง มือทั้งสองถือดอกบัวยกชูขึ้นระดับศีรษะ สันนิษฐานว่า อาจหมายถึงพระสุริยะ (ที่รูปปรากฏจะทำเป็นรูปบุคคลถือดอกบัวทั้งสองพระหัตถ์)
ธรรมจักร
สถานที่พบ/ประวัติ : พบที่เจดีย์ในเขตที่ดินของนายบู๊ จันทร์ทอง ทางทิศตะวันออกของเมืองโบราณ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง 67 ซ.ม.
รายละเอียดอื่น : วงธรรมจักรสลักมีซี่ทึบ มีจำนวนซี่กง 16 ซี่ ด้านล่างสลักรูปบุรุษมีครึ่งตัวอยู่กรอบทรงสามเหลี่ยม

พระพิมพ์

พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี ที่พบภายในจังหวัดนครปฐมมีหลายแบบด้วยกัน พระพิมพ์ดินเผาที่พบที่ในบริเวณเมืองนครปฐมสร้างขึ้นโดยใช้วิธีกดดินที่ได้เตรียมไว้แล้วลงในแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นด้วยดินเผาโลหะ,หิน,ปูน พระพิมพ์ดินเผาที่ พบที่นครปฐมส่วนมากมีขนาดใหญ่ จุดประสงค์คงจะทำขึ้นเพื่อสืบศาสนาหรือมุ่งหวังให้ผู้ที่ทำแล้วเกิดความเจริญรุ่งเรืองในชาติหน้า จึงพากันสร้างพระพุทธองค์ด้วยดิน ซึ่งถือว่าเป็นทางได้บุญกุศลโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองในการหาวัสดุ ที่มีราคาแพง หรือหายากมาทำและพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี พบที่นครปฐมหลายพิมพ์ มีจารึกตัวอักษรตัวเล็กข้างบน ด้านข้างหรือที่ฐานที่อยู่ด้านหลังคำจารึกเหล่านี้ที่อยู่บนพระพิมพ์ดินเผา ส่วนใหญ่จะมีข้อความที่จะเจาะลึกเป็นไปในแนวเดียวกันว่าพระพิมพ์จัดอยู่ในประเภทประติมากรรมดินเผาด้วย พระพิมพ์มักมีขนาดเล็กราวอุ้งมือมักแสดงรูปนูนของพระพุทธองค์ประทับในซุ้ม อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ ประกอบมากบ้างน้อยบ้าง สร้างโดยกดดินลงบนแม่พิมพ์ที่ทำไว้ก่อน แล้วนำดินที่กดเข้าเตาเผา จึงเรียกพระพิมพ์ดินเผาส่วนพระพิมพ์โลหะได้จากการเทโลหะหลอมเหลว เช่น ดีบุก ลงบนแม่พิมพ์ เย ธมฺมา เหตุ ปฺปภวา เยสํ เหตุ ตถาคโต อาห เตสถูจ โยนิโธจ เอวํ วาที มหาสมโณติฯ
ส่วนรูปแบบของพระพิมพ์นั้นมีสาระรายละเอียดแตกต่างกันหลายแบบในการศึกษาจัดกลุ่มพระพิมพ์อาศัยพิจารณาพระพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวก่อนและทางด้านรูปแบบ
พระพิมพ์ดินเผาแสดงภาพพุทธประวัติ ตอน “มหาปาฏิหาริย์” มีจารึกคาถา เย ธมฺมา พบที่ตำบลสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์ดินเผาปางมหาปาฏิหาริย์ ที่เมืองสาวัตถี พบที่บริเวณวัดพระเมรุ ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
พระพิมพ์ดินเผาปางมหาปาฏิหาริย์ ที่เมืองสาวัตถี พบที่ใกล้วัดเกาะ- วังไทร ตำบลพระประโทณ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
พบที่พระปฐมเจดีย์ แสดงภาพพระพุทธรูปปางสมาธิประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานโพธิ์บัลลังก์ ณอง บวสเซอลิเย่ร์ มีความเห็นว่า เป็นพระพิมพ์ในศิลปะขอมแบบบาปวนมีอายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17 ทั้งยังได้ค้นพบที่ วัดมหาธาตุ ราชบุรี และที่ปราสาทเมืองสิงห์ (พีรพน พิสนุพงศ์ ม.ป.ป.: 130) (สุภัทรดิศ ดิศกุล 2515:) (สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2552: 143)
พระพิมพ์ที่มีการค้นพบที่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพิมพ์ภาพพระพุทธเจ้า มีพระโพธิสัตว์ขนาบข้าง ขุดพบ จากวัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์ซุ้มพุทธคยาประทับนั่งห้อยพระบาท พบที่เมืองโบราณนครปฐม จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จากลักษณะและรูปแบบพระพุทธรูปในพิมพ์นี้ จัดเป็นศิลปะแบบปาละของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 13-14) พบในอาณาจักรศรีสะเกษและแพร่หลายมากในอาณาจักรพุกามของพม่า ส่วนใหญ่จะทำขึ้นโดยมีพิมพ์รูปแบบเดียวกันอย่างไรก็ตามนอกเหนือจากที่แสดงปางมารวิชัยแล้วในซุ้มลักษณะเดียวกันนี้ ยังแสดงถึงเพราะพุทธรูปปางแสดงธรรมประทับนั่งห้อยพระบาทมีปรากฏ เช่น พระพิมพ์พบที่นครปฐม

"พระสิบทัศน์"

โคกยายหอม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า "เนินพระ" ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิด "พระสิบทัศน์" ของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ หลวงพ่อเงินท่านริเริ่มจะสร้างพระอุโบสถ วัดดอนยายหอม ท่านจึงไปขุดอิฐทำราก ที่บริเวณโคกยายหอม ก็บังเอิญพบโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนาอันล้ำค่ามากมาย อายุนับพันปี เช่น เสาหินแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่,รูปปั้นกวางเหลียวหลัง,เสมาธรรมจักร (ทั้งหมดนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดดอนยายหอม) นอกจากนี้ ยังได้พบแม่พิมพ์พระเครื่อง มีพระพุทธรูป 10 องค์ อยู่ในแม่พิมพ์เดียวกัน ต่อมาทางวัดได้นำแม่พิมพ์นี้ไปพิมพ์พระเครื่องสำหรับแจก แล้วขนานนามพระเครื่องนั้นว่า "พระสิบทัศน์" พระสิบทัศน์นี้ จัดอยู่ในพระเครื่องชุดแรกๆที่หลวงพ่อเงิน ท่านได้สร้างเอาไว้เพื่อแจกแก่ชาวบ้านที่มาร่วมสรางพระอุโบสถ วัดดอนยายหอม ( ประมาณ พ.ศ 2480 ) เริ่มแรกสร้างได้ราว 100 องค์ สำหรับแจกแก่ผู่ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ช่วยเหลือวัดในการสร้างพระอุโบสถ ในระยะเวลาเดียวกันนั้น มีผู้นำแท่งเงินที่ขุดเจอ มาถวายหลวงพ่อเงิน คณะกรรมการวัดจึงได้นำไปใช้ทำพระชนิดต่างๆ รวมถึงพระสิบทัศน์ด้วย

เครื่องประดับทั้งกายและศีรษะ

ส่วนที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือหลักฐานด้านอาภรณ์ เครื่องประดับกาย ในศิลปะทวารวดี พบในประติมากรรมรูปบุคคลนุ่งผ้ามีเข็ดขัดคาดเอว ท่อนบนเปล่าเปลือย ใส่เครื่องศิราภรณ์ สะพายสายธุรัม กรองศอ ต่างหู กำไล รูปของบุคคลชั้นสูงในสมัยทวารวดีหลงเหลือให้ศึกษาได้มากพอใช้ แม้อยู่ในสภาพชำรุดก็ตาม รวมถึงรูปบุคคลโพกผ้าและการแต่งกาย ซึ่งอาจเป็นชนกลุ่มน้อย หรือพ่อค้า ชาวต่างชาติ รวมทั้งผู้คนชั้นสูงและผู้คนธรรมดา
อนึ่ง ปูนปั้นรูปเทวดา ยักษ์ สัตว์ และมนุษย์ จำนวนไม่น้อยมักพบเพียง ศีรษะขนาดเล็กกว่ากำปั้น เพราะหักชำรุดจากลำตัว ได้พบตามแหล่งโบราณคดีที่ นครปฐม ลพบุรี เป็นต้น คงเป็นส่วนในฉากประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือ นิทานชาดก ประติมากรรมขนาดเล็กเหล่านี้ นอกจากทรงผมแบบต่าง ๆ อาภรณ์ เครื่องประดับกายที่เกี่ยวโยงลักษณะกับต้นแบบจากอินเดียแล้ว ศิลปกรรมร่วมรุ่นในภูมิภาคนี้ก็มีที่เกี่ยวข้องกันอยู่ด้วย แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น นครปฐม อู่ทอง นักโบราณคดีขุดค้นพบเครื่องประดับร่างกายทำด้วยโลหะมีค่า เช่น ทอง ดีบุก ก็มีสร้อยคอ กำไล นอกจากทำด้วยโลหะแล้ว ยังมีที่ทำจากหินสดแต่งร้อยเป็นเครื่องประดับ
หลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก จึงถูกขุดขึ้นมาอยู่บนพื้นผิวดิน ทั้งเศษภาชนะดินเผา ก้อนอิฐ ชิ้นส่วนหินบด และลูกปัด ราษฎรรายหนึ่งได้เอื้อเฟื้อข้อมูลที่เก็บสะสมลูกปัดไว้จำนวนมาก ทั้งลูกปัดแก้วและลูกปัดหินกึ่งมีค่า การสำรวจโดยเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ในปี พ.ศ. 2548 ยังได้พบชิ้นส่วนศิลาจารึกที่ยังไม่ได้รับการอ่านและแปล พระพิมพ์ดินเผา ตุ้มหูโลหะ เป็นต้น (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ 2549: 38 - 40)
ลูกปัดแก้วและลูกปัดหิน
การแต่งกายของสตรีสมัยทวารวดีจากปูนปั้นประดับศาสนสถาน พบที่เมืองโบราณนครปฐมเก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
การสวมต่างหูที่ทำให้ดิ่งหูยาน ลงมาถึงไหปลาร้า พบที่เมืองโบราณนครปฐม เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
ลักษณะการนุ่งผ้าและตกแต่งชายผ้าของผู้คนสมัยทวารวดีจากปูนปั้นประดับศาสนสถาน (ซ้าย) จัดแสดง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ (ขวา) จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
การตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอจากปูนปั้นประดับศาสนสถาน จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
แม่พิมพ์ต่างหูสมัย ทวารวดี จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่ง-ชาติพระปฐมเจดีย์
การประดับเข็มขัดจากปูนปั้นประดับศาสนสถานจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
การประดับเข็มขัดจากปูนปั้นประดับศาสนสถานจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์

ตุ้มหู

พบในจังหวัดนครปฐม นางธนกฤต ศรชฎา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มอบให้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2548 ลักษณะ เป็นห่วงหนาตัน โค้งเป็นวงกลม ปลายตัดขาดจากกัน สันด้านนอกค่อนข้างมน ตกแต่งเป็นกลีบคล้ายกลีบมะเฟือง 11 กลีบ ด้านข้างของตัวห่วงทั้งสองด้าน ตกแต่งด้วยลายเส้นนูนเรียงขนานกันไปโดยรอบ ถัดออกมาเป็นแถวลายลูกประคำ 1 แถว
ใบหน้ายักษ์ ปูนปั้น สูง 13.5 ซ.ม. นครปฐม (พ.ช.พระปฐมเจดีย์) คงเป็นไปหน้าของยักษ์ เครื่องประดับศีรษะ (ศิราภรณ์) แสดงว่าคงเป็นพญายักษ์มีอยู่ในเรื่องนิทานพุทธศาสนา ลวดลาย (ไม่แน่ว่าเป็นส่วนประดับพนักของพระพุทธศาสน์หรือไม่) ศิลา สูง 48 ชม. นครปฐม (พ.ช.พระปฐมเจดีย์) ปัจจุบันลายที่มีขอบหยักเล็ก ๆ เป็นวงม้วน วงโค้ง มีชื่อเรียกว่า “ลายกระหนกผัก-กูด”เพราะดูคล้ายผักกูด ผู้เรียกบางคนคงเชื่อว่าผักกูดคือต้นตอของลายนี้ แต่หลักฐานมีอยู่ชัดเจนว่าลายนี้มีในอินเดียศิลปะ- คุปตะหลังคุปตะ อยู่ก่อนแล้ว จึงไม่เกี่ยวกับผักกูดของไทย ลายชนิดนี้ซึ่งแพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคนี้เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว และได้มีส่วนเป็นต้นเค้าของลายกระหนก (ที่เรียกว่า ลายไทยในปัจจุบัน)
ภาชนะ หลา สูง 1.12 ม. นครปฐม (พ.ช. พระปฐมเจดีย์)
ภาชนะคล้ายรูปโอ่งอาจเป็นส่วนล่างที่รองรับชุดชั้นซ้อนในทรงกรวย ซึ่งนับเป็นส่วนบน หรือยอดของเจดีย์ ลวดลายที่ประดับมีเค้ามาจากเครื่องประดับ ทำจากอัญมณี นิยมอยู่ในศิลปะต้นแบบเมื่อแพร่หลายมาสู่ศิลปะในภูมิภาคนี้ ก็ได้รับความนิยมกัน เช่น ในศิลปะพม่าสมัยเมืองศรีเกษตร และศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร
พนักของพุทธบังลังก์ ศิลา สูง 40 ซ.ม. นครปฐม (พ.ช. พระปฐมเจดีย์) สมัยทวารวดีพุทธศตวรรษที่12 –16
พบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม
ชิ้นส่วนพุทธบัลลังก์สลักแนวพนักบัลลังก์เป็นลาย-ดอกไม้สี่กลีบ สลักรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแนวนอน และมีลายก้านขดประกอบสลับกับลายดอกรูปรี ด้านล่างเป็นลายคล้ายใบไม้มีปลายม้วนเข้า ด้านบนเป็นลายสลักรูปสี่เหลี่ยมในแนวลายประคำสลับกับลายคล้ายหม้อน้ำหรือหัวเสา ส่วนปลาย ของพนักเป็นหน้ามกรคายสัตว์คล้ายสิงห์ ในท่าเผ่นโผนตามประวัติเล่าว่า ขุดพบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่าเป็นชิ้นส่วนศิลาทับหลังเรือนแก้วของพระพุทธรูปนั้งห้อยพระบาททำด้วยศิลา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพระพุทธรูปดังกล่าวได้ถูกเชิญจากนครปฐมไปไว้ยังวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงสมัยอยุธยาก่อนที่จะถูกเชิญมาประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุจวบจนปัจจุบันพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทที่วัดหน้าพระเมรุ ยังมีส่วนของพนักบัลลังก์ซึ่งสลักลวดลายแบบเดียวกันในชิ้นส่วนพนักบัลลังก์นี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาชิ้นส่วนทั้งสองประกอบกันจะสามารถเปรียบเทียบได้กับภัทรอาสน์ในฐานศิลาจำหลักภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมซึ่งมีรูปแบบที่แสดงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 - 11 หลังคุปตะทศวรรษที่ 1- 13) เช่นที่พบในพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาที่กลุ่มถ้ำอชันตาและเอลโลรา เป็นต้น

บรรณานุกรม

ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง (2557). โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด.
นิติพันธ์ ศิริทรัพย์.(2524)."พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม" วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุกุล ชมภูนิช และ นายสัญญา สุดล้ำเลิศ. (2556). สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในจังหวัดนครปฐม. สำนักศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฏนครปฐม.
พระเทพมหาเจติยาจารย์ และ พระครูสุธีเจติยากุล.(2546). ประวัติวัดจังหวัดนครปฐม.พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัท ออนป้า จำกัด.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2562). ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี.
สันติ เล็กสุขุม. (2564). มองไทยผ่านศิลปะทบทวนประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. กรุงเทพฯ .สยามปริทัศน์ สภาจังหวัดนครปฐม.ทวารวดีศรีนครปฐม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2563.
สมลักษณ์ คำตรง. (2564). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์…กรุงเทพฯ ครั้งแรก. โรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. เขตการศึกษาที่ 1 กระทรวงศึกษาธิการ.