โบราณวัตถุ

พระเครื่อง

ความเป็นมาของพระเครื่องในประเทศไทย

พระเครื่องราง นิยมเรียกโดยย่อว่า พระเครื่อง หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็กสร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อาจจะรวมถึงรูปสมมติขนาดเล็กของพระสงฆ์อริยบุคคลพระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นตามความนิยมของบุคคลที่มีความเชื่อในเมตตามหานิยม อิทธิ์ฤิทธิ์ ปาฏิหารย์ เช่น แคล้วคลาด, อยู่ยงคงกระพัน, นำโชค พระเครื่องเป็นการเรียกเครื่องรางต่าง ๆ ที่เชื่อว่าทำให้เกิดพุทธคุณแก่ผู้ที่มีไว้บูชา คำนี้เพิ่งมีปรากฏในสมัยรัตโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งก็นับรวมถึงพระพิมพ์เข้ามาอยู่ในกลุ่มพระเครื่องด้วยทันทีที่มนุษย์เริ่มก่อร่างสร้างวัฒนธรรม สิ่งที่พัฒนาควบคู่กันมานับแต่นั้น คือ ความเชื่อและศรัทธาซึ่งกลายเป็นแนวคิดที่ทุกชนชาติล้วนมีสอดแทรกอยู่ในทุกบริบทของชีวิตในฐานะเครื่องบำรุงขวัญและกำลังใจเมื่อต้องเผชิญภัย และเกิดความไม่มั่นคงในจิตใจสำหรับประเทศไทยถือได้ว่า เป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมเรื่องความเชื่อยาวนานกว่าพันปีจากความผูกพันใกล้ชิดกับการนับถือพุทธศาสนาอันเป็นคติธรรมประจำชาติ เครื่องรางของขลังตามความเชื่อของไทยหลายๆ อย่าง จึงมีความเกี่ยวพันกับศาสนาพุทธอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ พระเครื่อง รูปจำลององค์พระที่สามารถพกพาไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจได้ ปัจจุบันแม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้า แต่ความศรัทธาในพระเครื่องก็ยังไม่มีทีท่าจะเสื่อมคลายทั้งด้วยความงามเชิงพุทธศิลป์และด้วยตำนานเล่าขานเรื่องพุทธคุณ ที่ทำให้ชาวพุทธต่างนิยมหามาไว้ครอบครอง แต่กระนั้นหากย้อนกลับไปในยุคก่อนพระเครื่องที่เห็นกันในปัจจุบันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายในการเป็นเครื่องรางของขลังแต่อย่างใด

ความเชื่อเรื่องพระเครื่องในสังคมไทย

เครื่องรางส่วนใหญ่การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมากสำหรับบรรจุในเจดีย์เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่าง ๆ พังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติขอพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตตามความเชื่อของไทย

พระเครื่องชุดไตรภาคี

พระเครื่องชุดเบญจภาคี เริ่มมีขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2490 การจัดพระเครื่องชุดเบญจภาคีและลำดับพระเบญจภาคีของท่านผู้รู้หรือเซียนพระในยุคแรกๆท่านตรียัมปวายหรือพันเอกประจญกิตติประวัติ (ยศในขณะนั้น) ผู้ริเริ่มนำการจัดพระชุดเบญจภาคี อันประกอบด้วยพระเครื่องที่มีความนิยมและเก่าแก่ในสมัยต่างๆ ประกอบขึ้นเป็นห้าพระเครื่องที่หายากและมีความนิยมสูงสุดของไทยพระสมเด็จวัดระฆังเป็นองค์แทนพระเครื่องที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์รุ่นที่นิยมคือพระสมเด็จฯที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามกรุงเทพมหานครเซียนพระนิยมห้อยแขวนเป็นประธานอยู่ตรงกลางพระรอดเป็นองค์แทนพระเครื่องที่สร้างในสมัยทวาราวดีตอนปลาย (หริภุญชัย) มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุดรุ่นที่นิยมคือพระรอดกรุวัดมหาวันพระกำแพงซุ้มกอ เป็นองค์แทนพระเครื่องที่สร้างในสมัยสุโขทัย รุ่นที่นิยมคือ พระกำแพงซุ้มกอจังหวัดกำแพงเพชร ในยุคปัจจุบันถือเป็นพระที่พบเจอน้อยที่สุดพระนางพญา เป็นองค์แทนพระเครื่องที่สร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งรุ่นที่นิยมคือ พระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระผงสุพรรณ เป็นองค์แทนพระเครื่องที่สร้างในสมัยอู่ทอง ซึ่งรุ่นที่นิยมคือ พระผงสุพรรณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

พระเครื่องวัดดอนยายหอม

หลวงพ่อเงิน ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2433 ตรงกับ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 ปีขาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หลวงพ่อเงินได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 18พฤษภาคม พ.ศ.2453 โดยมี พระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา “จนฺทสุวณฺโณ” หลวงพ่อเงิน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เมื่อปี พ.ศ.2466 และท่านได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดีวัดตั้งอยู่ที่ตำบลดอนยายหอม อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

วัตถุมงคลวัดดอนยายหอม

ใน พ.ศ. 2480 หลวงพ่อยังได้ทำพระสิบทัศน์อีกราว 100 องค์สำหรับแจกแก่ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยเหลือวัดในการสร้างพระอุโบสถด้วย แบบพิมพ์พระสิบทัศน์ทราบว่า ได้ขุดพบบริเวณโคกยายหอมนี้เองเป็นพระพิมพ์สิบองค์สีเทาแบบพระยืนมีรูปชัดเจนมากหลวงพ่อชอบใจแบบ จึงได้มาพิมพ์เป็นพระสำหรับแจกให้ชื่อว่า พระสิบทัศน์
เหตุที่หลวงพ่อเงินสร้างพระพิมพ์สิบทัศน์ขึ้นนั้นเป็นเพราะได้มีการพบพระพิมพ์ยุคเก่าหลายพิมพ์เช่นพระสิบทัศน์ พระตรีกาย ณ บริเวณโบราณสถาณที่เรียกว่าเนินพระซึ่งพระที่พบมีศิลปะในยุคสมัยทวาราวดี เมื่อหลวงพ่อเงินมีดำริที่จะบูรณะวัดดอนยายหอมประมาณปี 2480 ท่านจึงสร้างพระพิมพ์สิบทัศน์ขึ้นเพื่อตอบแทนแก่ผู้สละทรัพย์และแรงกายร่วมทำบุญในครั้งนั้นพระสิบทัศน์หลวงพ่อเงินยุคแรกสร้างขึ้นจากเนื้อดินเผา (มีบางส่วนเป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน)โดยหลวงพ่อได้นำดินจากที่นาของชาวบ้านแห่งหนึ่งซึ่งถือเคล็ดว่าต้องเป็นดินที่ไม่เคยถูกคนเหยียบย่ำมาก่อนขั้นตอนการเตรียมดินกดพิมพ์สูงไฟเผาจัดขึ้นภายในวัดดอนยายหอมและอยู่ในพิธีกรรมอย่างเคร่งครัดทั้งสิ้นพระที่ได้มีหลายเฉดสี ได้แก่ สีเหลืองหม่น สีแดง สีน้ำตาล สีดำ“เนื้อพระ ความแกร่งแน่นตัวสูงมากแต่เนื่องจากเนื้อละเอียดมีอายุความเก่าจึงมีความเนียนหนึบและนุ่มแฝงอยู่ในเนื้อส่วนองค์ที่ผสมผงใบลานผิวเดิม ๆ ดำแห้งด้านหากถูกสัมผัสใช้ผิวจะขึ้นมันหนึกงดงาม”

เหรียญหลวงพ่อเงิน (หลวงพอเงิน) วัดดอนยายหอม รุ่นแรก พ.ศ.2493 เนื้อทองแดงรมดำ

ในตัวเหรียญไม่มีตัวหนังสือชื่อวัด และ ปีที่สร้างมีแต่ยันต์ด้านหลังเหรียญและคำว่า “หลวงพอเงิน” ซึ่งไม่ได้ปั๊มติดมากับตัวเหรียญ แต่เป็นตัวตอกภายหลังตรงใต้หูเหรียญว่า “หลวงพอเงิน” ไม่มีไม้เอก เข้าใจว่าช่างแกะคงลืมทำ“ไม้เอก”ตกไปเมื่อได้นำเหรียญมาให้หลวงพ่อพิจารณาท่านเห็นคำว่า“หลวงพอเงิน”ก็ไม่ได้ว่าอะไรแต่กลับพอใจเพราะคำว่า “พอ” ตรงกับคำสอนอันเป็นอมตะวาจาของท่านที่มักจะพูดเสมอว่า “รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน” ก็เลยปล่อยไว้เหมือนเดิม คือ “หลวงพ่อเงิน”

เหรียญเสมา “หลวงพ่อเงิน” วัดดอนยายหอม รุ่นแรก พ.ศ.2493 เนื้อทองแดงรมดำ

ทุกวันนี้เหรียญหลวงพ่อเงิน รุ่นแรก พ.ศ.2493 เป็นเหรียญยอดนิยมของวงการเหรียญหนึ่งสวยสมบูรณ์คมชัดที่เห็นนี้เช่าหากันถึงหลักล้านต้น ชนิดที่พอสวยยังเช่าหากันถึงหลักแสนกลางขึ้นไปเหรียญนี้ออกในงานทำบุญอายุครบ 5 รอบ (60 ปี) ของ หลวงพ่อเงินจำนวนสร้างประมาณ 1,000 เหรียญ มีเนื้อทองแดงรมดำ อย่างเดียว

เหรียญรุ่น2 หลวงพ่อเงิน ปี 2497 เหรียญเสมา

เหรียญหลวงพ่อเงินรุ่น2สร้างปี 2497 เพื่อหาทุนบูรณะวัดบางช้างใต้ ด้านหน้าเหรียญใช้บล็อกแม่พิมพ์ของรุ่นแรกนำมาปั๊มใหม่ แต่บล็อกชำรุดขึ้นสนิมทำให้เมื่อปั๊มแล้วเกิดเม็ดผดผื่น หรือ เรียกว่าขี้กลาก แต่ถึงชำรุดอย่างไรบล็อกแม่พิมพ์รุ่นแรกก็ยังถูกนำมาใช้งานอีกหลายครั้งเกิดเป็นตำนานเหรียญเสมาหน้าหนุ่มที่ได้รับความนิยมสืบต่อกันมา

เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม (เหรียญหน้าวัว) พ.ศ.2503 เนื้อทองคำ

ที่น่าสนใจอีกเหรียญหนึ่งของ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม คือ เหรียญหน้าวัวพ.ศ.2503โดยเรียกตามลักษณะของพิมพ์ทรงเหรียญเป็นเหรียญขนาดเล็กเหมาะสำหรับเด็กและผู้หญิงผู้ชำนาญพระสายนี้บอกว่าครั้งแรกผู้จัดสร้างกำหนดเป็นพิมพ์ทรงเสมา แต่ช่างได้แกะเป็นพิมพ์ทรงเม็ดบัวคอเว้า มีรูปหลวงพ่อเงินหันข้างอยู่กลางเหรียญด้านล่างมีเลข ๑ เพื่อระบุรุ่น ด้านหลังเป็นยันต์นะทรหด อันเป็นยันต์ที่ท่านใช้เป็นประจำเหรียญรุ่นนี้มีหลายพิมพ์ขณะเดียวกันก็มี เหรียญปลอม ออกมามากมายหลายฝีมืออีกด้วย เหรียญแท้มีจำนวนสร้างอยู่ที่หลักพันเท่านั้นมีหลายเนื้ออาทิเนื้อทองแดงสวยๆเช่าหากันที่หลักหมื่นต้นเนื้อเงินอยู่ที่หลักหมื่นกลาง และเนื้อทองคำอยู่ที่หลักแสนต้น

ช่วยเสริมเรื่อง

- เสริมบารมี เสริมการงานค้าขายและโชคลาภแคล้วคลาดปลอดภัย
- เป็นที่พึ่งพาทางจิตใจของชาวบ้านและคนที่ศรัทธาหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องวัดธรรมศาลา

หลวงพ่อน้อย ท่านเกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426

วัตถุมงคลวัดธรรมศาลา

เหรียญทรงเสมาหลวงพ่อน้อยรุ่นแรก” สร้างขึ้นเมื่อปี 2496

เป็นเหรียญอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมทองแดงด้านหน้าเหรียญ ด้านบนมีอักษรตัวนูนเขียนคำว่า “หลวงพ่อน้อย” ตรงตัว “ห” มีขีดบริเวณหัว ขอบด้านหน้ามีลายกนกกึ่งกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อน้อยครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านล่างรูปหลวงพ่อน้อยประมาณแนวอกตัดตรงและไม่มีส่วนใดชิดเส้นขอบ จุดสังเกตมีเส้นขนแมวคมๆขวางเหรียญด้านหลังเหรียญเรียบมียันต์นะปถมัง ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมาเหรียญรุ่นนี้ปัจจุบันหายาก

เหรียญคอน้ำเต้า รุ่นแรก เนื้อแร่ สร้างจำนวนน้อยมาก

เหรียญคอน้ำเต้ารุ่นแรกนี้สร้างพร้อมกับเหรียญหน้าเสือ รุ่นแรก ในสมัยที่หลวงพ่อน้อยมีชีวิตท่านพอใจที่จะแจกเหรียญคอน้ำเต้าให้กับศิษย์ของท่าน มากกว่าเหรียญหน้าเสือโดยให้เหตุผลว่าเหรียญคอน้ำเต้าหน้าเหมือนท่านมาก และเป็นเหรียญปากถุง จึงดีทางค้าขายโชคลาภและเมตตามหานิยมจึงเหมาะแก่การบูชาติดตัวเพื่อความเป็นศิริมงคลซึ่งผิดกับเหรียญหน้าเสือที่มีหน้าดุเกินไปในอดีตนักเลงพระรุ่นเก่านิยมบูชาเหรียญคอน้ำเต้าติดตัวมากกว่าเหรียญหน้าเสือคอน้ำเต้ารุ่นแรกเพราะเคยมีประสบการณ์ ราคาปัจจุบันมาแรงมากองค์สวยแชมป์ประมาห้าแสนถึงล้าน

ช่วยเสริมเรื่อง

- เสริมบารมีเสริมการงานค้าขายและโชคลาภและแคล้วคลาดปลอดภัย
- เมตตามหานิยม

พระเครื่องวัดพระงาม

พระครูโสภณสีลวัตร (หลวงพ่อเทียบ ผลปุญโญ) วัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐมเกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2481 ตรงกับวันพฤหัสบดี

วัตถุมงคลวัดพระงาม

พระบูชาหลวงปู่เทียบ วัดพระงาม นครปฐม สร้างปี 2562
พระบูชารูปเหมือน หลวงปู่เทียบ หน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 20 องค์ วัดพระงาม นครปฐม พ.ศ.2562 สร้างเพื่อเป็นอาจาริยบูชาและสมทบทุนสร้างโรงทานโรงครัววัดวิจิตรังสิตาราม (วัดห้วยซุง) อ.หันคา จ.ชัยนาท

ตลับยาหม่องหนังเสือ หลวงปู่เทียบ วัดพระงามฯ นครปฐม

ตลับยาหม่องหนังเสือ หลวงปู่เทียบ วัดพระงามฯ นครปฐม

หลวงปู่เทียบปลุกเสก 1 ไตรมาส ปี 2562 เพื่อมอบให้ผู้ทำบุญสร้างโรงครัว ตลับยาหม่อง รุ่นสร้างโรงครัว (รุ่นนี้มีกินไม่หมด)
1. เนื้อทองคำทำบุญ 25,000 บาท
2. เนื้อเงินทำบุญ 2,000 บาท
3. เนื้อทองแดง (กรรมการ) ทำบุญ 1,000 บาท
จำนวนการสร้าง
1. ทองคำ 35 องค์
2. เนื้อเงิน 200 องค์
3. เนื้อฝาบาตร หรือ ทองเหลือง 300 องค์
4. ทองแดง แจกกรรมการ สร้างประมาณ 700 องค์ หลังอุดผงพุทธคุณ ว่าน๑๐๘ และหนังเสือ
5. ทองแดง หลังหนังเสือ 1,300 องค์
6. เนื้อว่าน๑๐๘ อีกจำนวนนึงซึ่งหลวงปู่ท่านจะแจกให้กับลูกศิษย์ที่มาทำบุญใส่บาตรบ้างตามโอกาส

ช่วยเสริมเรื่อง

- เสริมด้านเเคล้วคลาดปลอดภัย
- มหานิยมมหาสเน่ห์
- เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านที่อยู่บริเวณวัด

พระเครื่องวัดพระประโทน

เจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน คือ พระเดชพระคุณฯ พระราชเจติยาภิบาล

วัตถุมงคลวัดพระประโทน

ลูกอมหลวงพ่อแกละวัดพระประโทน

ในอดีตชาวบ้านแถวละแวกวัดเรียกว่าลูกอมกันหมากัดของหลวงพ่อแกละ(หลวงตาแกละ)

วัดพระประโทณเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม เกจิอาจารย์ยุคก่อนปี๒๕๐๐ ประสบการณ์เล่าขานว่าเหนียวไม่เป็นรองเกจิเมืองยอดแหลมท่านอื่นเป็นที่หวงแหนในหมู่ลูกศิษย์ เนื่องจากสร้างน้อยและหายากสุดๆปัจจุบันหาสภาพดีๆยากมากแล้วลูกอมของท่าน จะเป็นว่านวิเศษนานาชนิด รวมทั้งผงยาจินดามณีที่ปรุงตามสูตรโบราณผสมชานหมากหุ้มห่อเป็นลูกอม ถักขึ้นเชือกแล้วแทงทะลุไปอีกด้านหนึ่งแล้วจึงถักตาข่ายต่อจนจบพร้อมโผล่ห่วงทองแดงซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ ลูกศิษย์บางกลุ่มก็เรียกเม็ดยาชานหมาก ก็แล้วแต่ นักสะสมเครื่องรางรุ่นเก่า ยิ่งคนเมืองยอดแหลมจะทราบดี ในอดีตหลวงพ่อแกละท่านชอบไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลาเป็นประจำเนื่องจากวัดอยู่ไม่ไกลกันและกุฎิท่านอยู่ติดกับป่าช้ามีโลงศพวางเรียงรายมากมาย คนเก่าแก่ท่านเล่าว่าใต้โลงศพมีอุโมงค์ไปโผล่ที่วัดธรรมศาลา แต่ก็ไม่มีใครเคยกล้าเข้าไป

ช่วยเสริมเรื่อง

- เสริมบารมีทางด้านค้าขาย
- เมตตามหานิยม
- เป็นวัตถุมงคลที่ชาวบ้านเอาติดตัวเมื่อออกไปไหนมาไหนจะรู้สึกว่าปลอดภัย

พระเครื่ององพระปฐมเจดีย์

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเป็นหนึ่งในจุดหมายสำคัญเมื่อมาเยือนจังหวัดนครปฐมถือเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดนครปฐมและเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวพุทธผู้คนนิยมเรียกพระปฐมเจดีย์องค์พระปฐมเจดีย์

วัตถุมงคลองค์พระปฐมเจดีย์

เหรียญรูปจำลองพระบรมธาตุของไทยที่มีความโดดเด่นและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง" เกริ่นถึงวัดพระปฐมเจดีย์ ที่ตั้งของ ‘องค์พระปฐมเจดีย์’ วัดพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐมเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร นับเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาแต่โบร่ำโบราณซึ่งชาวบ้านมักเรียกขานกันว่า "วัดใหญ่

สมเด็จปี2513

พระสมเด็จพระปฐม เนื้อพิเศษ วัดพระปฐมเจดีย์ ปี 2513 ที่ระลึกงานนมัสการพระปฐมเจดีย์พิมพ์ใหญ่แจกเฉพาะกรรมการ กล่องเดิมหายาก จ.นครปฐม สภาพเดิม ๆ ตามรูปพิธีปลุกเสกถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปลุกเสกที่วัดสามง่าม โดยหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ครั้งที่สอง ปลุกเสกที่วัดพระปฐมเจดีย์ มีพระคณาจารย์ดังๆในยุคนั้นร่วมปลุกเสกมากมายโดยเฉพาะพระเกจิสายนครปฐมเช่นหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว พระสร้างด้วยมวลสารต่างๆ มาก

พระร่วงปี2514

พระสมเด็จพระร่วง หลังองค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ปี14 สวยเดิมรายละเอียดพระสมเด็จพระร่วงหลังองค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ที่ระลึกงานนมัสการพระปฐมเจดีย์ สร้างในปี พ.ศ. 2514 วัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดหลวงการพุทธภิเษกต้องจัดแบบยิ่งใหญ่ ซึ่งครูบาอาจารย์ทั้งที่นครปฐม ล้วนแต่ระดับแนวหน้า

เนื้อเงินปี2536

เหรียญหล่อองค์พระ ปี 2536 เนื้อเงิน สภาพสวยมาก ผิวเดิมเลยครับเนื้อเงินรุ่นถือว่าเป็นที่นิยมของคนที่ชอบและศรัทธาองพระปฐมเจดีมากๆ

ช่วยเสริมเรื่อง

- เดินทางปลอดภัย
- ค้าขายร่ำรวย

บรรณานุกรม

หอม สมประเสริฐ. (2566 ตุลาคม 21). จิตอาสาองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม. สัมภาษณ์.