สถานที่พบ : ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
อายุสมัย : กว่า 1,000 ปี
ความเป็นมาและความสำคัญ
พระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครปฐมราว 2 กิโลเมตรพระปฐมเจดีย์องค์แรกนั้นนักโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยที่นครปฐมยังเป็นเมืองศรีวิชัยของอาณาจักรทวารวดีและมีการสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาพระปฐมเจดีย์องค์แรกนี้ สร้างเป็นทรงบาตรคว่ำ ลักษณะคล้ายสถูปสาญจีในอินเดีย สูง 18 วา 2 ศอก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงมีพระราชศรัทธาให้ ปฏิสังขณ์องค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งถูกทิ้งร้างอยู่ในป่าและให้ปรับปรุงพื้นที่โดยรอบเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ในขณะนั้นยังคงเลื่อมใสไปนมัสการอยู่เสมอโดยเรียกพระเจดีย์นี้ว่า "พระประธมเจดีย์" พระเจ้าฟ้ามงกุฎขณะทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ ทรงมีพระดำริว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุในสมัยรัตนโกสินทร์ถูกทิ้งร้างอยู่ในป่ารกโดยบูรณะครอบพระเจดีย์องค์เดิมไว้ภายใน
ลักษณะของพระปฐมเจดีย์องค์เดิมจะเห็นได้จากเจดีย์จำลองบนระเบียงด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์คือเป็นเจดีย์ทรงกลมมีทางเดินขึ้นสู่ลานรอบองค์เจดีย์คล้ายกับสถูปสาญจีในประเทศอินเดียส่วนยอดปรางค์นั้นคงสร้างต่อเติมขึ้นภายหลัง ทั้้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจีแต่ปรากฎว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ซึ่งพระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่าอาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา
แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฎว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุมในสมัยสุโขทัยของพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุณี ศรีรัตนลงกาทีปมหาสามี กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด
เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระปฐมเจดีย์”
เจดีย์จำลองพระปฐมเจดีย์องค์เก่า
ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบัน
อันได้กล่าวไว้ว่าพระมหาเถรศรีศรัทธาฯท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราดเมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชานามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์
ในเรื่องนี้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านได้ระบุว่าพระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็นพระมหาธาตุหลวงในยุคทวารวดีมากกว่าข้าพเจ้าคิดจะให้คนทั้งหลายรู้ความโบราณ จึงได้สืบแสวงหาหนังสือเก่า ๆ ได้ความที่พระยาราชสัมภารากรฉบับหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องตาปะขาวรอตจดหมายไว้ ได้ที่พระวิเชียรปรีชาฉบับหนึ่ง
พระวิหารหลวง
คือพระวิหารด้านทิศตะวันออกขององค์พระปฐมเจดีย์ถือเป็นพระวิหารสำคัญสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับการปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญไว้ อาทิมุขด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระวิหารด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิบัลลังก์ที่ผนังด้านหลังพระพุทธรูปเป็นภาพเขียนสีน้ำมันรูปพระศรีมหาโพธิ
ส่วนพระวิหารด้านในบนผนังมีภาพเขียนสีน้ำมันรูปพระเจดีย์องค์ปัจจุบันพร้อมทั้งแสดงให้เห็นพระเจดีย์องค์เติมตั้งอยู่ภายใน ในห้องมีพระแท่นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่
พระวิหารทิศเหนือ
ผู้ที่มานมัสการพระปฐมเจดีย์จะต้องเดินขึ้นบันไดสูงสู่พระวิหารทิศเหนือ พระวิหารโถงด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ปางห้ามญาติห้อยพระหัตถ์ซ้ายยกพระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอ พระอุระมีความสูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ถวายพระนามพระพุทธรูปนี้ว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราช ปูชนียบพิตร
พระร่วงโรจนฤทธิ์
พระวิหารด้านทิศตะวันตก
พระวิหารด้านทิศตะวันตก เป็นพระวิหารที่สร้างขึ้นพร้อมกับพระวิหารวิหารทั้ง 4 ทิศขององค์พระปฐมเจดีย์ ภายในจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนด้านนอกหรือด้านหน้าที่หันไปทางทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ส่วนด้านในหรือด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูปปางพระนิพพาน
พระพุทธไสยาสน์
พระวิหารทิศตะวันออก
วิหารนี้เรียกกันว่าพระวิหารหลวง ห้องนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่งๆ มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์ แสดงให้เห็นลักษณะขององค์พระเจดีย์ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ผนังห้องทั้ง 2 ด้านเป็นภาพวาดรูปเทวดา นักพรต ฤๅษี และพญาครุฑ ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการบูชาพระปฐมเจดีย์ ที่ชานมุขหน้าพระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธมหาวชิระมารวิชัย
พระวิหารด้านทิศใต้
วิหารนี้เรียกกันว่าวิหารพระปัญจวัคคีย์เนื่องจากห้องนอกมีรูปปั้นพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ นั่งอยู่รอบองค์พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ห้องด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิหงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนบนพระเพลาอย่างท่าปางสมาธิ มีรูปพญานาค 7 เศียร แผ่พังพานอยู่เบื้องหลังขดเป็นพุทธบัลลังก์
ตำนานพระปฐมเจดีย์
และพระยากง – พระยาพาน
พระธมเจดีย์หรือพระปฐมเจดีย์ เป็นพระสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะตั้งอยู่ในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นนพระอามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ภายในเจดีย์จะเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปฐมเจดีย์นั้นได้ถูกสร้างและปฏิสังขรณ์มาอย่างน้อย 3 ครั้งแล้ว และไม่มีใครทราบว่า พระปฐมเจดีย์ถูกสร้างในยุคสมัยใด ข้อความในตำนานพระปฐมเจดีย์กล่าวว่า “เดิมเมื่อแรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น พระพุทธศักราชล่วงได้พระวัสสาหนึ่งจะเป็นผู้ใดสร้างหาแจ้งไม่” (กรมศิลปากร 2528: 23) และ “เดิมเมื่อแรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น จุลศักราชยังไม่มี ตั้งแต่ พระพุทธศักราชศาสนาพระพุทธิเจ้าได้ปีหนึ่งนั้นมา...”
ความเก่าแก่ของพระปฐมเจดีย์อาจมีมาก่อนพระประโทณเจดีย์ เพราะน่าสังเกตว่าในเอกสารฉบับเดียวกันนั้นได้กล่าวถึงพระประโทณเจดีย์ที่สร้าง โดยพระยากาวัณดิศราช เมื่อ พ.ศ. 1199 ด้วย แต่เรื่องปีที่สร้างพระปฐมเจดีย์ก็เชื่อถือได้ยาก เพราะยังไม่มีเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีอื่นใดมารองรับ ต่างจากมูลเหตุของการสร้างพระปฐมเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระยากง - พระยาพาน อันเป็นเรื่องราวที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
ตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับตาปะขาวรอต กล่าวว่า มีกษัตริย์ชื่อท้าวสิการาช ครองราชย์สมบัติอยู่ที่ “เมืองศรีวิไชย” ซึ่งเชื่อว่าคือเมือง นครไชยศรี มีพระโอรสคือ “พระยากง” ซึ่งได้ครองราชย์สืบต่อมา (พงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระยากงครอง เมืองกาญจนบุรี) พระมเหสีของพระองค์ได้ประสูติโอรสองค์หนึ่ง ซึ่งโหรทำนายว่ามีบุญญาธิการมาก แต่จะกระทำปิตุฆาต คือฆ่าพ่อ พระยากงจึงให้นำพระโอรสไปฆ่าเสียพระมเหสีจึงลอบเอาพระกุมารไปให้ “ยายหอม” เลี้ยงไว้
เมื่อพระกุมารเจริญพระชันษายายหอมก็นำไปมอบให้กับพระยาราชบุรีเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมืองราชบุรีนั้นเป็นเมืองขึ้นของพระยากง จึงจำเป็นต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปเป็นเครื่องบรรณาการทุกปี แต่พระโอรสหนุ่มกลับมีดำริว่า ไม่จำเป็นจะต้องจัดส่งสิ่งของเหล่านั้นไปให้พระยากงอีก พระยากงจึงยกทัพมายัง เมืองราชบุรีโทษฐานคิดเป็นกบฏ ศึกครั้งนั้นนำไปสู่เหตุการณ์ชนช้างระหว่างพ่อกับลูกแล้วพระโอรสก็ได้กระทำปิตุฆาตฆ่าพระยากงขาดคอช้างที่ตรงจุดนั้นเรียกกันว่า “ถนนขาด” จากนั้นพระโอรสก็สามารถเข้ายึดเมืองของพระยากงได้สำเร็จ เหล่าขุนนางต่างยกพระราชสมบัติให้ทรงมีพระนามว่า “พระยาพาน”
ในค่ำคืนหนึ่งพระยาพานได้เข้าไปยังตำหนักพระมเหสีของพระยากง (คือแม่ของตัวเอง) หมายจะกระทำสังวาสด้วย สรรพสัตว์หลายชนิดต่างส่งเสียงเป็นสัญญาณเตือนถึงเหตุร้ายนี้ แต่พระมเหสีก็จำได้ดีว่าพระยาพานคือพระโอรสของพระองค์ที่ไปฝากยายหอมเลี้ยงไว้ เพราะทรงจำรอยแผลบนพระพักตร์ที่เกิดขึ้นจากการนำพานมารองรับเมื่อครั้งประสูติได้ (อันเป็นที่มาของชื่อพระยาพาน) เมื่อพระยาพานทราบความตามนั้นแล้วจึงโกรธยายหอมมากเพราะไม่ยอมบอกความจริง จึงได้ สั่งให้ฆ่ายายหอมเสีย (บางที่เขียนเป็น “พระยาพาน” ด้วยเหตุที่ฆ่าพ่อตัวเองและฆ่ายายหอมที่เลี้ยงดูมา) สถานที่ที่ฆ่ายายหอมนั้นก็เรียกกันว่า “บ้านยายหอม” หรือ “โคกยายหอม”
จากเหตุการณ์คราวนั้นก็นำความเศร้าโศกมาให้พระยาพานเป็นอย่างมาก พระองค์จึงคิดที่จะไถ่บาป โดยเรียกประชุมเหล่าขุนนางอำมาตย์และภิกษุสงฆ์ สถานที่ที่ประชุมนั้นจึงเรียกว่า “ธรรมศาลา” พระมหาเถระจึงแนะนำให้พระองค์ก่อพระเจดีย์ขนาดใหญ่เพื่อไถ่บาป พระยาพานจึงได้สร้าง “พระเจดีย์สูงใหญ่ชั่วนกเขาเหิน สร้างวัดเบื้องสูงท่าประธม ทำพระวิหาร 4 ทิศ ไว้พระจงกรมองค์ 1 พระสมาธิ ทั้ง 3 ด้าน ประตูแขวนฆ้องใหญ่ ปากกว้าง 3 ศอกทั้ง 4 ประตูทำพระระเบียงรอบพระวิหาร แล้วบรรจุพระบรมธาตุเขี้ยวแก้วในพระเจดีย์ใหญ่...” เจดีย์องค์นี้เชื่อกันว่าคือ พระปฐมเจดีย์
การบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์
ในขณะนั้นชาวบ้านยังคงเลื่อมใสไปนมัสการอยู่เสมอโดยเรียกพระเจดีย์นี้ว่า "พระประธมเจดีย์" พระเจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีพระดำริว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุในสมัยรัตนโกสินทร์ ในขณะทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ถูกทิ้งร้างอยู่ในป่ารก ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงให้ขุดคลองเจดีย์บูชาและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างกรุงเทพ ฯ กับนครปฐมให้สะดวกขึ้น โปรดให้สร้างพระราชวัง ชื่อ "วังปฐมนคร" เพื่อใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระปฐมเจดีย์ และให้เปลี่ยนชื่อเจดีย์จากเดิมว่า "พระประธมเจดีย์" เป็น "พระปฐมเจดีย์ องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืนเป็นประจำทุกปี
ประวัติของพระร่วงโรจนฤทธิ์
พระร่วงโรจนฤทธิ์ในเอกสารกระทรวงโยธาธิการลงวันที่ 3 พฤษภาคม ร.ศ.130 และประกาศถวายพระนามพระพุทธปฏิมาที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์พระปฐมเจดีย์กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราชา พ.ศ. 2451 เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมากมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัยมีลักษณะงดงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยแต่ชำรุดมากยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรพระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาทซึ่งสันนิษฐานได้แน่ว่าเป็นพระพุทธรูปยืนห้ามญาติจึงโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯแล้วให้ช่างปั่นกรมศิลปากรสถาปนาขึ้นให้บริบูรณ์เต็มองค์ เมื่อทำหุ่นเสร็จพร้อมที่จะเททองได้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูป ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2451 ที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อการหล่อแล้วเสร็จ มีขนาดสูงตั้งแต่พระบาทถึงพระเกศ 12 ศอก 4 นิ้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ยังพระวิหารพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ออกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 เจ้าพนักงานจัดตกแต่งประกอบตั้งต่อมาจนแล้วเสร็จบริบูณ์ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458
ต่อมาเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ประทับแรมอยู่ ณ พลับพลาเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2466 ได้ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระพุทธปฏิมากรพระองค์นั้นว่ายังหาได้สถาปนาพระนามจึงได้ถวายพระนามว่า "พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาสมหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร"
ลักษณะพระร่วง
เป็นพระพุทธรูปประทับยืนบนฐานหล่อบัวคว่ำบัวหงาย วงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม นิ้วพระหัตถ์และพระบาทไม่เสมอกันห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกายพระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระในลักษณะกิริยาห้ามญาติ หล่อด้วยโลหะ
พุทธคุณของพระร่วงโรจนฤทธิ์
พุทธคุณ มหาอำนาจ โชคลาภ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาด คงกระพันปราศจากอันตราย
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. (2528) เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่และการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร ยูนิตี้ โพรเกรส จำกัด.
กฤษฎา พิณศรี. / ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง. / และ สรัญญา สุริยรัตนกร. (2548). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ เพชรเกษมการพิมพ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (2550). อวดภาพเก่าเล่าความหลัง. โรงพิมพ์ บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
มาลี แดงดอกไม้. (2542). ใต้ร่มพระปฐมเจดีย์:วิถีถิ่นนครปฐม. โรงพิมพ์ บริษัท แสงปัญญาเลิศ จำกัด. องค์การค้าของคุรุสภา
วิเชียรปรีชา (น้อย), พระ. (2501) พงศาวดารเหนือ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. (พิมพ์ในงานพระราชทาน เพลิงศพ มหาเสวกเอกเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี(หม่อม ราชวงศ์มูลดารากร) โรงพิมพ์ ไทยเขษม.
สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ . (2542). เที่ยวนครปฐม. พิมพ์ครั้งแรก โรงพิมพ์ สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์
สมลักษณ์ คำตรง . (2564). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมจดีย์... กรุงเทพ ฯ ครั้งแรก. โรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. เขตการศึกษาที่1กระทรวงศึกษาธิการ.
สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.พิมพ์ที่: บริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด