ตักบาตรเทโว

ความเป็นมาและความสำคัญ

วันออกพรรษาซึ่งเป็นวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” ประเพณีที่เกี่ยวกับวันออกพรรษาที่เป็นที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา คือ ประเพณีตักบาตรเทโว หรือ “วันตักบาตรเทโว”หรือชื่อเต็มว่า “วันเทโวโรหณะ” หมายถึง วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรง จําพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสําคัญ วันเทโวโรหนะ เป็นวันที่มีการทําบุญตักบาตรที่พิเศษวัน หนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระ มารดา และทรงจําพรรษาทนี่นั่น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็น ซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีก ชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็นกันทั้ง 3 โลก
การตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาเป็นประเพณีจนถึงเมืองไทย จึงเรียก ประเพณีว่า การตักบาตรเทโว เทโวโรหณะ “การลงจากเทวโลก” และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มี ผู้บรรลุคุณวิเศษจํานวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกําหนด สําหรับบําเพ็ญการกุศล ทําบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏใน ประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีใน วันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดจัดถัดจากนั้น 1 วัน คือในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11การตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาเป็นประเพณีจนถึงเมืองไทย จึงเรียก ประเพณีว่า การตักบาตรเทโว เทโวโรหณะ “การลงจากเทวโลก” และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มี ผู้บรรลุคุณวิเศษจํานวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกําหนด สําหรับบําเพ็ญการกุศล ทําบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏใน ประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีใน วันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดจัดถัดจากนั้น 1 วัน คือในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11
ส่วนของการตักบาตรเทโวของวัดพระงาม เป็นพระเพณีประจำปี ของวัดพระงาม พระอารามหลวง ได้จัดขึ้นทุกๆ ปี ณ วัดพระงาม พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม ประเพณีตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นการทำบุญตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง ซึ่งจัดขึ้นช่วงออกพรรษา ประเพณีตักบาตรเทโว ณ วัดพระงาม พระอารามหลวง มีจุดเด่น คือ มีเนินเขาวัดพระงาม ที่เป็นโบราณสถานสำคัญ ซึ่งในวันตักบาตรเทโวพระสงฆ์ทุกรูป จะอยู่บนเนินเขาและเดินลงมาเพื่อรับของที่ ประชาชนนำมาตักบาตร เพื่อความสิริมงคล

บทสัมภาษณ์จากผู้ที่มาตักบาตรเทโว ณ วัดพระงาม พระอารามหลวง

คุณพร้อม จาดคล้าย อายุ 74 ปี ชาวบ้านในชุมชนวัดพระงามได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า มาตั้งบาตรเทโวที่วัดพระงามทุกปี ซึ่งปีนี้คนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา การตักบาตรของวัดพระงาม จะมีพระสงฆ์เดินลงมาจากเนินเขาวัดพระงาม มารับข้าวสารอาหารแห้งจากชาวบ้านที่นำมาตักบาตรกัน ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นโบราณดั้งเดิมอยู่แล้ว โดยพระสงฆ์ที่มาจะเป็นพระที่จำพรรษาในวัดพระงาม
คุณสมเกียรติ อินเหี้ยน อายุ 80 ปี ชาวบ้านในชุมชนวัดพระงามได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าพิธีตักบาตรเทโวเป็นพิธีทางพระพุทธศาสนา เรียกกันอีกอย่างว่า ตักบาตรดาวดึงส์ ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องตักบาตรเทโวกันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเดินลงมาตักบาตรชั้นดาวดึงส์ ด้วยพระพุทธราชานุภาพของพระพุทธเจ้าท่านบันดาลให้มองเห็นสวรรค์ และมองเห็นสัตว์นรกในคราเดียวกัน ซึ่งเรียกปรากฎการ์ณนี้ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก ประเพณีตักบาตรของของวัดพระงามมีมายาวนานมาก น่าจะมากกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก ประธานชุมชนวัดพระงาม โรงเรียนวัดพระงาม และชาวบ้านในชุมชนวัดพระงาม ซึ่งการตักบาตรเทโวครั้งหนึ่งเรามีรายจ่ายที่ค่อนข้างเยอะมาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสถานที่ไม่มีเราก็ต้องเช่าจากข้างนอกเพื่อให้ชาวบ้านที่มาตักบาตรได้มีสถานที่ในการตักบาตรที่ไม่ร้อน
คุณสุนีย์ ดีพุ่ม อายุ 73 ปี ข้าราชการครูเกษียณได้ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนวัดพระงามสมัยเรียนประถมพอจบออกไปจึงหาเวลา และโอกาสเพื่อกลับมาช่วยงานที่วัดพระงามตลอด จนกระทั่งเกษียณข้าราชการครูเลยมีเวลามากขึ้น จึงได้มาช่วยงานที่วัดพระงามเป็นประจำ งานตักบาตรเทโวมีพระสงฆ์ 40 รูป เณร 1 รูป ปีนี้คนมาเยอะ ตามจริงแล้วก็มาเยอะทุกปี แต่มีปีที่แล้วคนมาค่อนข้างน้อย เพราะปีที่แล้วฝนตก
คุณกนกวรรณ เนตรเรือง อายุ 68 ปี ข้าราชการพยาบาลเกษียณได้ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันเป็นข้าราชการเกษียณ พอทางวัดพระงามมีงานก็จะมาช่วยงานวัดตลอดเลย เนื่องจากบ้านอยู่แถวชุมชนวัดพระงาม เลยมาช่วยงานที่วัดทุกเทศกาลเลย ตักบาตรเทโวปีนี้คนเยอะ เนื่องจากได้มีการเปิดโบสถ์เก่าที่ไม่เคยเปิดเลย มากว่า 50 ปี เนื่องจากตอนนั้นเป็นกุฏิของพระสงฆ์รูปหนึ่ง พอท่านมรณะภาพ ก็ปิดมาตลอดไม่เคยได้เปิดอีกเลย จนมาวันนี้วันตักบาตรเทโวเลยได้มีโอกาส เปิดให้ผู้ที่มาทำบุญได้เข้าชม ถือเป็นความพิเศษของปีนี้
คุณวนิดา ชาววัฒนา อายุ 47 ปี ชาวบ้านในชุมชนวัดพระงามได้ให้สัมภาษณ์ว่าประเพณีตักบาตรเทโวที่วัดพระงามน่าจะมีมากกว่า 30 ปีแล้ว การตักบาตรเทโวของวัดพระงามมีการจัดขึ้นทุกปี ในแต่ละปีก็จะมีการจัดเรียงเต็นท์ที่แตกต่างกันออกไป อย่างปีที่แล้วได้มีการจัดเต็นท์ทั้งทางฝั่งโบสถ์และฝั่งโรงเรียนวัดพระงาม แต่ปีนี้จัดเต็นท์แค่ฝั่งเดียวคือฝั่งโรงเรียนวัดพระงาม เหตุผลที่อยากมาทำบุญที่วัดนี้เพราะอัฐิของบรรพบุรุษอยู่ที่วัดนี้ เลยมีความเชื่อกันว่าหากมาทำบุญบรรบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วก็จะได้รับส่วนบุญนี้ด้วย
คุณวรรณา บัวพรหม อายุ 80 ปี ชาวบ้านในชุมชนวัดพระงามได้ให้สัมภาษณ์ว่า ในสมัยก่อนประเพณีตักบาตรเทโวจะเน้นเป็นอาหารที่ทำเองมาตักบาตร อาทิ ข้าวต้มมัด ไข่เค็ม ข้าวสวย อาหารจำพวกผัดหรือแกง ข้าวหลาม สมัยก่อนจึงเรียกกันว่า ตักบาตรข้าวหลาม แต่ปัจุบันวัตถุดิบที่จะนำมาทำอาหารนั้น มีราคาค่อนข้างสูง และต้องใช่เวลามากจึงไม่ค่อยได้ทำกันแล้วจึงนิยมเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ที่หาซื้อได้ง่ายและประหยัดเวลา
คุณมยุรี ศรีสุข อายุ 66 ปี จิตอาสาของวัดพระงามได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ตนเองเป็นจิตอาสาของวัดพระงาม เวลาวัดมีงานก็จะมาช่วยตลอด ช่วยงานวัดมามากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งการตักบาตรเทโวปีนี้จัดได้ใหญ่กว่าทุกปี คนปีนี้ก็เยอะมาก เนื่องจากปีนี้ได้มีการเปิดโบสถ์เล็ก หรือ โบสถ์หรือไม่เคยเปิดเลย เพิ่งมาเปิดปีนี้ปีแรก เนื่องจากเมื่อปีก่อนๆทางกรมศิลปากรได้เข้ามาดูแลเนินเขาวัดพระงาม ทางวัดเลยไม่ค่อยได้เปิดโบสถ์เก่า วันนี้เนื่องจากตักบาตรเทโวเลยมีโอกาสได้เปิดโบสถ์เก่าให้ชาวบ้านที่มาทำบุญได้ร่วมสักการะบูชา
คุณวัชรินทร์ กุศลทรามาส อายุ 67 ปี ชาวบ้านในชุมชนวัดพระงามได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ประเพณีตักบาตรเทโวมีมานานแล้ว ในช่วงแรกจัดรวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ 10 ปีให้หลังมานี้วัดแต่ละวัดได้มีการบิหารให้จัดประพณีตักบาตรของแต่ละวัดเอง ซึ่งวัดพระงาม พระอารามหลวงก็เป็นที่นิยมมากในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม เพราะวัดพระงาม มีเอกลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งคือการที่พระสงฆ์เดินลงมาบิณฑบาตจากเนินเขาวัดพระงาม เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บทสวดที่ใช้คือบทชุมนุมเทวดา(เจริญพระพุทธมนต์ บทสวดเจ็ดตำนาน) ซึ่งในปีนี้ก็ได้มีสาธุชนมาร่วมใส่บาตรกันมากและได้มีการเปิดโบสถ์เล็กหรือโบสถ์มหาอุตม์ ให้ประชาชนเข้าไปสักการะพระพุทธรูปโบราณ ซึ่งได้เปิดโบสถ์ให้สักการะในปีแรก ก่อนหน้านี้โบสถ์นี้ได้เป็นกุฏิเจ้าอาวาสองค์ก่อน (พระอาจารย์ธรจุ้ยและพระอาจารย์ฮะ) ซึ่งท่านได้มรณะภาพไปแล้ว จึงเปิดให้สักการะปีละ 1 ครั้งในวันที่จัดประเพณีตักบาตรเทโว
วัตถุมงคลของวัดพระงามที่โด่งดังเเละประชาชนนับถือก็คือ
พระปิดตา สมัยหลวงพ่อพร้อม มีพุทธคุณมหาอุตม์ คงกระพันธ์ชาตรี
-------------
จากการสัมภาษณ์คนในชุมชน ได้เล่าถึงหลวงพ่อเงินไว้ว่า " หลงพ่อเงินเดิม มีพ่อ ชื่อพ่อพรม ร่วมพูน มีลูกทั้งหมด 4 คน แม่เขาฝันว่ามีพญานาคมาขออาศัยอยู่ ในวันที่หลวงพ่อเงินจะเกิด แม่เล่าให้พ่อของหลวงพ่อเงินฟังว่าไม่มีอะไร ลูกมีบุญจะมาเกิด ปี 2480 คนดอนยายหอมศรัทธาหลวงพ่อมาก หลวงพ่อพัฒนาหมู่บ้านเราทุกเรื่อง ตอนนั้นหลวงพ่อเงินคิดจะสร้างโบสถ์ ไปขุดตรงที่โบราณสถานเนินพระจะเอาอิฐ เก่าๆที่มันหักๆ เอามาทำฐานโบสถ์ เสร็จแล้วก็ขุดไปขุดมาไปเจอเสมาธรรมจักร กับกวางหมอบเลยแจ้งกรมศิลปากรเข้ามาดู ถึงได้รู้กันว่านี่โบราณสถานเนินพระ ที่มีอายุกว่า 1,000 กว่าปี"
จากการสัมภาษณ์นักวิชาการ ได้ให้ข้อมูลของหลวงพ่อเงินไว้ว่า "ตัวหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมท่านมิได้มีคุณูปการต่อวงการคณะสงฆ์ หรือแค่วงการการศึกษาเท่านั้น แต่ว่าหลวงพ่อเงินเอง ถ้าพูดถึงคุณูปการต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ท่านเป็นเหมือนเทพเจ้าของเมืองดอนยายหอมด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ท่านให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา ทางด้านโรงพยาบาล แล้วก็เป็นผู้นำทางด้านจิตใจของผู้คนในพื้นที่ หน่วยราชการเขตพื้นที่ดอน-ยายหอมต้องยอมรับว่าพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีศักยภาพทางด้านการศึกษา ทางด้านสาธารณสุข ก็เพราะหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมแห่งนี้นี่เอง"

คุณค่าความศรัทธา หลวงพ่อเงิน

ศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจเป็นประทีปส่องวิถีชีวิตของมวลมนุษย์ ด้วยมนุษย์ทุกภาษาส่วนใหญ่เป็นคนมีศาสนา การที่คนในชาติมีความสามัคคี สามารถรวมกลุ่มกันตั้งเป็นชาติเป็นประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ
ความศรัทธาในหลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์) วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม ของคนในชุมชนดอนยายหอมและพื้นที่ใกล้เคียงนั้น มีประวัติศาสตร์มายาวนานนับ 100 ปี ความศรัทธาเกิดจากการที่หลวงพ่อเป็นผู้นำทางด้านจิตใจ เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีในกิจวัตรพื้นฐานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และร่วมพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมทั้งให้คำสอนในการดำเนินชีวิตกับคนในชุมชน ผู้คนดอนยายหอมต่างกล่าวว่าหลวงพ่อคือ เทพเจ้าของดอนยายหอม คุณค่าของความศรัทธาก่อเกิดสิ่งดีงามกับผู้คนในชุมชน ดังนี้

คุณค่าด้านกาย

ความศรัทธาหลวงพ่อเงินทำให้คนในชุมชนประพฤตินอบน้อมทางกาย เช่น การกราบไหว้ เดินนอบน้อมขณะเดินผ่าน การบูชาคือการแสดงออกถึงความเคารพต่อรูป สัญลักษณ์ตัวแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าในทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการยกย่อง เทิดทูนด้วยความนับถือ หรือเลื่อมใสในความรู้ ความสามารถดั่งเป็นวีรบุรุษ บูชาบุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์ จากการสัมภาษณ์คนในชุมชน ความศรัทธาในหลวงพ่อที่เคยปล่อยเวลาว่างจากการทำนา สูบยาสูบ ก็มาช่วยงานหลวงพ่ออุทิศแรงกายสร้างศาลา สร้างโรงเรียน ช่วยงานหลวงพ่อ ทำประโยชน์ในกับชุมชน ไม่มีเวลาสูบยาเลย ร่างกายก็แข็ง-แรงขึ้น อีกท่านหนึ่งก็บอกกล่าวว่า สมัยก่อนมีงานวัด ปู่ก็จะมานั่งเล่นดนตรี ตีกลองรำมะนา มีสาวๆ ตอนนี้ก็เป็นยายกันแล้ว มารำ ช่วยงานวัดในพิธี-สมโภชน์ต่างๆ มาเกือบทุกอาทิตย์ที่วัดมีงานตลอด พออยู่ในวัดก็กินเหล้า ไม่ได้ ก็ไม่เมา ร่างกายก็แข็งแรง

คุณค่าด้านจิตใจ

งานนมัสการ หรือพิธีกรรมการบูชาหลวงพ่อเงิน นั้นเป็นการสร้างการตอบ-สนองความสุขด้านจิตใจทั้งในด้านของผู้คน ครอบครัวไปจนถึงสังคมในจังหวัด เมื่อผู้คนมีความศรัทธาเกี่ยวกับอานิสงส์ของการได้มานมัสการ มาขอพร มาบนบานกล่าวขอสิ่งต่างๆ และเมื่อได้มีโอกาสมาทำบุญไว้เป็นทานก็ย่อมเกิดปีติ สุขอิ่มเอมใจ มีความรู้สึกรักและผูกพันกับพระพุทธศาสนา รู้สึกว่าบาปและอกุศลทั้งมวลลดน้อยถอยลง เพราะเกิดความสบายใจ ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพราะเชื่อว่าธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ดีเป็นที่สมควรแก่การยึดถือเพื่อความผาสุกในชีวิตนอกจากนี้วัดหลวงพ่อเงินยังเป็นพุทธานุสติมีลักษณะที่เตือนสติของผู้พบเห็นสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้เกิดแก่จิตใจ เกิดการผักผ่อนหย่อนใจจากหน้าที่งานการประจำ รู้สึกสุข สงบ มีสติ เบิกบานทางใจ ผู้ที่ตั้งตนอยู่ในวิถีทางแห่งชาวพุทธที่ดีในหลักการของพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนานั้น ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของทาน เพราะเป็นเรื่องที่กระทำได้โดยง่ายไม่มีบังคับและทำได้ทุกคน ทั้งทานทรัพย์สินเงินทอง ทานอาหารการกิน ทานแรงกายแรงใจ เมื่อให้เกิดความสุขทางใจขึ้น ทำให้มีความโน้มเอียงไปในทางที่ดี ชักนำจิตใจให้รักษาศีลและปฏิบัติธรรมภาวนาต่อไปได้ และจากการสัมภาษณ์คนในชุมชน กล่าวว่า ทุกวันนี้เอาหลักธรรมหลวงพ่อมาใช้ “ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง” “รู้จักพอก่อสุข ทุกสถาน” ทำงานเล็กน้อยก็ทำ ไม่งอมืองอเท้า เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ไม่พอกับรายจ่ายเลย ของแพงขึ้นทุกวัน ก็ต้องรู้จักใช้ ขยันมากขึ้น และจากคำบอกเล่าของคนในชุมชนเล่าว่า “ความจริงนั้น คนบาป คนชั่วกลัวหลวงพ่อ เพราะเขารู้ว่าหลวงพ่อเป็นพระบริสุทธิ์ ปากศักดิ์สิทธิ์ เขากลัวหนักหนาคือว่า กลัวหลวงพ่อสาปแช่ง ทั้งๆ ที่หลวงพ่อไม่เคยแช่งใคร ยิ่งเขารู้ว่าไม่เคยแช่งใคร เขาก็ยิ่งกลัวว่า ถ้าหลวงพ่อแช่ง เขาเจ๊งแน่ ๆ เรื่องนี้มีอยู่ว่า มีคนๆ หนึ่ง เป็นคนเกเรมากมีคนบอกหลวงพ่อ หลวงพ่อก็พูดปรารภว่าเขาเป็นคนบาปหนา ห้ามเขาไม่เชื่อหรอก ไม่ช้าเขาก็ติดคุก อยู่ต่อมาไม่นาน นายคนนั้นไปคบเพื่อนโจร เอาคนมาปล้นบ้านชาวบ้าน ถูกตำรวจจับไปติดคุก คนก็รู้กันทั่วไป เป็นเรื่องแรกว่า หลวงพ่อปากศักดิ์สิทธิ์นัก” หรือ “เถ้าแก่เสียง เจ้าของโรงสี ได้ออกหวยจับยี่กีขึ้น มีคนแทงหวยกันมาก รู้ถึงหูหลวงพ่อก็เดินไปเยี่ยมเถ้าแก่ถึงโรงสี คนที่มีปัญญาหากิน และขยันอย่างเถ้าแก่เสียง ไม่มีวันจนแน่นับวันมีแต่จะมั่งคั่งร่ำรวย คนบ้านนี้เขารักใคร่นับถือเถ้าแก่เพราะเป็นคนดีมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่เขาลือกันหนาหูว่า เถ้าแก่ออกหวยจับยี่กี ฉันไม่เชื่อหรอก คนรวย ๆ อย่างเถ้าแก่ จะมาตั้งบ่อนออกหวยจับยี่กี จะคิดสั้นอย่างนั้นเชียวหรือ เพราะถ้าคนบ้านนี้เล่นหวยกัน เขาก็ต้องพากันยากจน ก็จะกลายเป็นคนลักขโมยปล้นสะดม เถ้าแก่ก็จะถูกปล้น แล้วหลวงพ่อก็เทศน์ว่า "ถ้าเถ้าแก่คิดจะตั้งบ่อนจริง ๆ ฉันก็ขอร้องว่าเลิกเสียเถอะ ถ้าเถ้าแก่ไม่ยากจนหมดทางหากินอย่างอื่นแล้ว ฉันก็จะไม่ขอร้องให้เลิกเลย เถ้าแก่เสียงได้ยินดังยั้นก็ยกเลิกการตั้งบ่อนหวยจับยี่กี่”

คุณค่าด้านกาย

งานประจำปีนมัสการหลวงพ่อเงิน เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนดอนยายหอม อันเกิดจากความศรัทธาในหลวงเงิน ที่หลอมรวมคนในท้องถิ่นให้เคารพนับถือสักการะ บริจาคเงินทองเป็นกองทุนสร้างสิ่งต่าง ๆ เป็นกฐิน ผ้าป่า ทุนการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ นักเรียน และโรงทานข้าว น้ำ ปลา และอาหารหวานคาว และทำให้สังคมมีความรู้สึกถึงความเป็น พวกพ้องเป็นหมู่เหล่าและร่วมกันรักษาพื้นที่ธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นมรดกของคนในสังคมให้ยาวนานที่สุดเป็นขบวนการของประชาสังคมเชิงพุทธที่มีส่วนดีมากกว่าส่วนเสียซึ่งก่อให้เกิดผลดีทางด้านสังคม เป็นพุทธจริยธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ วัดหลวงพ่อเงิน เป็นอีกจุดหนึ่งในโปรแกรมการท่อง-เที่ยวเชิงพุทธ ในจังหวัดนครปฐม ส่งผลให้ประชาชนหลายกลุ่มได้รับผลประโยชน์ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ในหลายอาชีพได้กำไรจากการขายดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร เครื่องดื่มให้กับนักท่องเที่ยวเข้าไปยังวัดกลาง รวมทั้งอาชีพอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจนั้นสิ่งที่ส่งผลเห็นได้ชัดคือการท่องเที่ยวในระดับจังหวัดอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนสงบสุขการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขทำให้เกิดความสะดวกในการปกครองขึ้นด้วยสังคม

คุณค่าด้านวัฒนธรรม

พิธีกรรมบูชาหลวงพ่อเงิน เป็นพระพุทธรูปที่ชาวพุทธในจังหวัดนครปฐมได้ให้ความเคารพสักการบูชาอย่างสูง หลวงพ่อเงิน ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ผูกพันกันมายาวนาน ในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ประชาชนดอนยายหอมจะมีการจัดงานนมัสการ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สักการบูชาและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่ ระดับจังหวัดที่ประชาชนเข้าร่วมงานทั่วทุกสารทิศ กิจกรรมงานประจำปี เพื่อที่จะเป็นกิจกรรมการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน และเป็นพุทธจริยธรรมในการสร้างสังคมให้เกิดความสันติสุขน่าอยู่