ภาษา พื้นถิ่น

ภาษาไทยถิ่น (Thai local and Ethnic Languages)

ชุมชนดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม

ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจาในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันอาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำและสำเนียง ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศไทย
ภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียน ภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้
ทุนวัฒนธรรมทางด้านภาษาของชุมชนดอนยายหอม โดยคนในพื้นที่จะใช้ภาษาไทยกลางในการติดต่อสื่อสาร แต่มีคำเฉพาะที่เป็นภาษาถิ่นและสำเนียงท้องถิ่นในการสื่อสารกัน ส่วนใหญ่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่มที่จะใช้ภาษาถิ่นเวลาสื่อสารกันภายในชุมชน แต่เมื่อต้องติดต่อสื่อสารกับคนภายนอกชุมชนหรือติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ จะใช้ภาษาไทยกลาง สำหรับพื้นที่ดอนยายหอมจะมีสำเนียงประจำถิ่น โดยมักจะลงท้ายคำพูดในบทสนทนาว่า “ลี่” ซึ่งปัจจุบันคนในชุมชนดอนยายหอมก็ยังนิยมใช้กันอยู่แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ

ตัวอย่างการใช้ภาษาถิ่น

“วันนี้ไม่ไหนมาลี่” “กินข้าวแล้วลี่” “ไปทำบุญวัดดอนยายหอมลี่” คำว่า “ลี่” จะออกเสียงสั้นเหมือนคำลงท้ายภาคอื่นๆ ปัจจุบันเริ่มมีการใช้น้อยลง คงมีเพียงผู้ใหญ่รุ่นปู่ ย่า ยังคงมีการพูดติดปากกันบ้าง