การละเล่น

การละเล่นพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีการเล่นกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากความคิดของมนุษย์ทั้งรูปแบบการเล่นและกติกาการเล่นต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์เองมีจุดหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความสนุกสนานเพลิดเพลินช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส ทำให้อารมณ์ดี เพิ่มพูนสติปัญญาและยังช่วยให้ผู้คนในสังคมใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสามัคคีกันและเข้าอกเข้าใจกัน
การละเล่นพื้นบ้านของไทยได้มีการถ่ายทอดการเล่นตามแบบเฉพาะของวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานานตามแบบวิถีชีวิต หรือการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นตนเอง และการสืบทอดต่อ ๆ กันมานั้นได้ทำให้การละเล่นบางชนิดมีการพัฒนารูปแบบการเล่นอย่างต่อเนื่องตามกาลเวลา ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ในด้านความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆได้ โดยเราสามารถซึมซับและรับรู้ได้จากการละเล่นพื้นบ้านของไทย
โดยการละเล่นไทยนั้นในเมื่อก่อนจะมีการเล่นที่ละเอียดอ่อนและสวยงามตามแต่ละพื้นที่หรือในแต่ละภาคโดยทั่วไปแล้วการละเล่นนั้นจะมีการเล่นที่คล้ายคลึงกันแต่ในปัจจุบันการละเล่นในแต่ละภาคนั้นหาดูได้ยากเพราะอาจเป็นเพราะเวลายิ่งผ่านคนสืบสานอาจจะน้อยลงตามกาลเวลาแต่ส่วนมากการละเล่นในที่เราพบบ่อยมากที่สุดคือ เขตภาคกลาง เช่น จังหวัดนครปฐม ในพื้นที่องค์ปฐมเจดีย์ และในเขตชุมชนที่มาบริเวณติดกับวัด อย่าง ชุมชนหมู่บ้านวัดดอนยายหอม หรือ ชุมชนหมู่บ้านธรรมศาลา ที่อาจจะไม่ค่อยมีการละเล่นให้เห็นแล้วแต่ยังชาวบ้านที่เขายังสามารถเล่าบอกต่อในการละเล่นที่หาดูได้ยากนั้นได้

เสือกินวัว

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวบ้านในชุมชนจะรวมตัวกันเพื่อมาเล่นในวันสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์พอถึงเวลาก็จะมารวมกันแบบไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า ทุกคนจะรู้ว่าจะต้องเล่นวันไหนก็จะมารวมตัวกันที่วัดหรือลานกว้างๆในหมู่บ้าน การละเล่นเสือกินวัวเล่นเพื่อสร้างความสามัคคีกันภายในชุมชน

วิ่งเปี้ยว

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นพื้นบ้านของไทยสมัยก่อนเป็นการละเล่นที่ให้ทั้งความสนุกสนานวิ่งและเปี้ยวก็ไม่ได้มีกติกากำหนดไว้อย่างตายตัวเป็นการเล่นกันมารุ่นสู่รุ่น ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกันเพื่อเล่นในเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ โดยไม่มีกการนัดหมายชาวบ้านจะมารวมตัวกันเล่นที่บริเวณ พื้นที่กว้างๆกลางแจ้ง การวิ่งเปี้ยวเป็นการละเล่นที่ช่วยให้เกิดสามัคคีและความปรองดองในหมู่บ้านชุมชน

มอญซ่อนผ้า

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นที่ใช้เสียงเพลงร้องประกอบการละเล่นของเด็กๆกฎกติกาการละเล่นนั้นไม่ยุ่งยาก เพียงมีลานกว้างๆ ผู้เล่นเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิงก็ได้อย่างน้อยสัก 10 คนขึ้นไป

การตีหึ่ง

ชุมชนดอนยายหอม

การตีหึ่งเกิดขึ้นเมื่อนานเเล้วเป็นกีฬาพื้นบ้านเก่าแก่ชนิดหนึ่ง เด็กที่ว่างจากทำการบ้านจะมาเล่นประมาณ 5 - 6 โมงเย็น เล่นตาม พี่ น้า อา เป็นการเล่นที่เล่นได้ทั้งหญิงและชาย มีกฎกติกาการเล่นที่เห็นได้อย่างชัดเจน การเล่นตีหึ่งมีเล่นกันกว้างขวางในแทบหลายพื้นที่ ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป

โยนลูกช่วง/ลูกโยน

ชุมชนดอนยายหอม
และชุมชนองค์พระปฐมเจดีย์

การละเล่นที่สนุกอย่างหนึ่ง ถึงเวลาช่วงตรุษสงกรานต์หนุ่มสาวก็จะมารวมตัวกันที่วัด ที่ลานในหมู่บ้าน เล่นต่อๆกันมารุ่นสู่รุ่นตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเมื่อก่อน การโยนลูกช่วงในอดีตกิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบหน้ากัน และการละเล่นลูกช่วงเป็นการที่ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าจีบกันสนุกสนาน

ปิดตาตีหม้อ

ชุมชนดอนยายหอม

นิยมเล่นกันมานานแล้ว โดยเฉพาะในเทศกาลวันสงกรานต์เพราะเป็นการละเล่นที่ชวนให้สนุกทั้งคนเล่นและคนดู นิยมเล่นกันในลานวัด หรือลานบ้าน โดยหาหม้อดิน ปี๊บ หรือไหก็ได้ มาตั้งไว้เท่าจำนวนคนที่จะตี วางให้ระยะห่างกันระหว่าง 8-10 ก้าว ตามแต่จะตกลงกัน คนตีอาจเดินจากจุดเริ่มต้นไปถึงหม้อที่อยู่ข้างหน้า เป็นการละเล่นที่สนุกอย่างหนึ่งเพราะเสียงเชียร์ เสียงหัวเราะจากคนที่รอดูอยู่รอบข้าง

รีรีข้าวสาร

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นพื้นบ้านสมัยก่อนเป็นการละเล่นดั้งเดิมของเด็กสมัยก่อนได้มีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่1 และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า”รีรีข้าวสาร รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้”

ชักเย่อ

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นที่ตั้งสมัยโบราณ ที่ไม่มีกฎเคร่งครัด เพียงแค่แบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย ให้เท่ากันโดยการเล่นชักเย่อนั้นส่วนมากจะมีการเล่นในประเพณีและงานบุญต่างๆ โดยต่อมาการชักเย่อได้สืบต่อการเล่นในปัจจุบัน การเล่นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ยังคงเล่นเหมือนเดิม เพื่อช่วยเสริมสร้างความสามัคคีกันในชุมชน

การเล่นเข้าผีลิงลม

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นผีลิงลมเริ่มเล่นสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษตั้งแต่ก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่1 แต่เมื่อมีการเริ่มเล่นกันเป็นปีแรกในปีต่อๆไปก็จะต้องเล่นเพื่อสืบทอดต่อกันไปทุกๆปี แต่ในปัจจุบันไม่มีใครเล่นการละเล่นผีลิงลมแล้วเพราะเป็นการละเล่นที่น่ากลัวไม่เหมาะสำหรับคนขวัญอ่อน

แข่งเรือบก

ชุมชนดอนยายหอม

การละเล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณเรือบกเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็กๆ นิยมเล่นกัน และมักเล่นในหมู่เด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ในการเล่นเรือบกในเมื่อก่อนนั้น จะมีการเล่นใน โคลนตม แต่พอภายหลังในปัจจุบันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ในการเล่นออกไปบ้าง

ตี่จับ

ชุมชนดอนยายหอม

ในอดีตเป็นการละเล่นของเด็กๆ หรือ หนุ่มสาววัยแรกรุ่นที่ยังถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้เหมือนในปัจจุบันพึงใจเข้าร่วมการละเล่นนี้ในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ

การเล่นเข้าผีกะลา

ชุมชนดอนยายหอม

การเล่นตามความเชื่อของชาวบ้าน ปัจจุบันหาดูได้ยาก แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยพบเห็นยังนำมาเล่าให้ลูกหลานที่สนใจได้รับรู้เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีการละเล่นการละเล่นผีกะลาเริ่มเล่นสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษตั้งแต่ก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่1 แต่เมื่อมีการเริ่มเล่นกันเป็นปีแรกในปีต่อๆไปก็จะต้องเล่นเพื่อสืบทอดต่อกันไปทุกๆปี แต่ในปัจจุบันไม่มีใครเล่นการละเล่นผีกะลาแล้วเพราะเป็นการละเล่นที่น่ากลัวไม่เหมาะสำหรับคนขวัญอ่อน

บรรณานุกรม

ทิพวรรณ คนธา. การละเล่นพื้นบ้านของเด็กภาคอีสาน. กรุงเทพฯ:ต้นอ้อ ๑๙๙๙, ๒๕๔๒.
ผะอบ โปษะกฤษณะ, ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และศิวะพร สุคนธพงเผ่า.การละเล่นของเด็กภาคกลาง, กรุงเทพฯ: โครงการเผย-แพร่เอกลักษณ์ของไทย กระทรวงศึกษาธิการ , ๒๕๒๒.
พีระพงศ์ บุญศิริ. การละเล่นพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, ๒๕๓๗.
สุภิกดิ์ อนุกุล. การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง-ภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น, ๒๕๔๕.